.รับบริการ ออกแบบสวนทุกแบบ โดยคุณวรรณ : 088-503-9922 โดยทีมงานภูมิทัศน์ ภูมิสถาปนิกมืออาชีพโดยตรง พร้อมให้บริการทันที ยินดีเดินทางสำรวจสถานที่ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี พร้อมให้คำแนะนำในการปรับปรุงสวนสวย

หน้าแรก » บ้าน ที่ดิน สวน และ การตกแต่ง » สระน้ำ / บ่อปลา

.รับบริการ ออกแบบสวนทุกแบบ โดยคุณวรรณ : 088-503-9922 โดยทีมงานภูมิทัศน์ ภูมิสถาปนิกมืออาชีพโดยตรง พร้อมให้บริการทันที ยินดีเดินทางสำรวจสถานที่ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี พร้อมให้คำแนะนำในการปรับปรุงสวนสวย

แบ่งปันให้เพื่อน



หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผน และเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้ สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวก ในการ ทำงาน และมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี

1) การเลือกซื้อพรรณไม้ (Getting plant)

เป็นการสำรวจ และ หาแหล่ง พรรณไม้ ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้ง ชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยง การเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิม นอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้ หรือมีแต่ไม่ได้ขนาด ตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวน ควรจะอธิบายเหตุผล ให้เจ้าของบ้าน เข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่า เป็นชนิดใด และราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือก พรรณไม้ ตามที่ต้องการแล้ว ควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้น ก่อนจนกว่า จะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้อง ขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็น การประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันเดียว อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระ ในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป

2) การปรับที่ (Grading)

การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้น เป็นงานที่ยาก ใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่า การก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อย เพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีกก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จ เมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดิน เป็นร่องทำให้เสียเวลา ในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงาน ที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้
การปรับที่อาจเริ่มจาก การปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไป หรือถากดินออก บริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนิน ก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาว ให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุด มายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกัน การทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีก
การปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำ ตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวัง เลือกใช้พรรณไม้ และ ปรับทาง ระบายน้ำ บริเวณนั้นให้ดี ส่วนของสนาม ที่ระดับดิน เท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนาม สูงกว่าถนน ที่ควรแต่งขอบให้โค้งและ ปูหญ้า ถึง ขอบถนน เพื่อกันดินพัง

3) การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil Preparation)

ควรปลูกต้นไม้หรือไม้ประธานก่อน แล้วจึงเป็นไม้พุ่ม ให้คลุมดิน ตามลำดับ วิธีการเตรียมก็ดูตำแหน่งของต้นไม้นั้น ๆ จากแปลน จะทราบถึงระยะห่างของต้นไม้จากำแพง หรือผนังบ้านได้ เมื่อได้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ใช้ปูนขาวไปวงตามจุดนั้น เพื่อที่จะเตรียมขุดโดยกะขนาดหลุมให้ตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้ว ควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ยที่ขายทั่วไป ผสมปุ๋ยสูตรสเสมอและปูนขาวอย่างละกำ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้ต่อไป
การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้น ควรขุดต่อกันเป็นแปลง ตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาว ตามสูตรหลังจากนั้น ก็ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ

4) การกำจัดวัชพืช (Weed Control)

ในระยะที่ทำการขุดหลุม เพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลัง ก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้ว ก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก

5) การวางก้อนหิน (Setting Stones)

ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหิน ที่เปลี่ยแปลงไป โดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอกถึง บรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้ว จะไม่นิยมใช้ในการจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยม เพราะขาวเกินไป และไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยง การใช้สีก้อนหินที่ติดกัน
นักจัดสวน จะสำรวจรอบ ๆ หินแต่ละก้อนอย่างถี่ถ้วนก่อน เพื่อที่จะตัดสินใจดูว่า ด้านไหนเป็นด้านหน้า ควรจะโชว์แก่ผู้ที่มาพบเห็น สังเกตจุดศูนย์ถ่วงของก้อนหิน ควรวางตรงไหน และจมลงดินเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในแต่ละก้อนที่วาง

การวางก้อนหิน 2 ก้อน
นอกจากก้อนหิน 2 ก้อนแล้วก็จะจัดเป็น 3 ก้อน, 7 ก้อน ถ้ากลุ่มใหญ่ก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย สองหรือสามกลุ่มโดยมี 1 กลุ่มจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมสูงสูงที่สุด และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก วางให้สมดุลกับกลุ่มแรก

การจัดวางหิน 3 ก้อน
หลีกเลี่ยงการจัดวางก้อนหินที่มีขนาดรูปร่าง และกลุ่มก้อนวางอยู่ใกล้กัน เพราะจะดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่จุดเด่นใน กลุ่มหินนั้น ๆ
การเคลื่อนย้ายก้อนหิน ควรมีเครื่องทุ่นแรงช่วย เช่น รถเข็น ท่อนไม้ สำหรับงัดหิน เชือกสำหรับดึงหรือผูกก้อนหินเพื่อหาม เป็นต้น ถ้ามีการปรับที่แล้วไม่ต้องการให้ดินยุบไปตามน้ำหนักของล้อรถเข็นก็ใช้ไม้ กระดาน วางพาดบนรองล้อรถเข็นไว้ ก็จะช่วยให้ดินไม่เป็นรอย ถ้าในกรณีหินก้อนใหญ่มากก็ต้องใช้บั้นจั่นช่วยยก ก่อนที่จะยกไปวาง ควรจะกะให้ดีถึงมุมใด ที่ก้อนหินจะตั้งและขุดดินไว้ลึกพอสมควร ที่ต้องการฝังหินลงจะได้ง่ายในการขยับ และเคลื่อนย้ายหิน เพื่อไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อย

6) การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน (Planting)

เมื่อได้เตรียมหลุม และเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมปลูกต้นไม้มาจาก แหล่งชื้อต่าง ควรปลูกไม้ใหญ่ก่อน โดยนำต้นไม้ไปใกล้ปากหลุม ถอดกระถางออกหรือทุบกระถางให้แตก เพื่อกันการกระเทือนของราก โกยดินออกจากหลุมให้ลึกเท่ากับ ความสูงของกระถางวางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นให้ โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบ ๆ โดยต้นไม้ควรทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับมากที่สุด เมื่อปลูกแล้วควรค้ำโดยไม้ไผ่, ไม้สน ใช้ไม้ประมาณ 3 อัน โดยจับต้นไม้ให้ตรงแทงกิ่งไผ่ลงในดิน ค้ำเป็นสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือกให้แน่นทั้งนี้ เพื่อการกันโยกของต้น เมื่อลมพัด เพราะการโยกของต้น จะทำให้รากกระเทือน หรือขาดได้
การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ ที่เตรียมไว้ การเว้นระยะที่พอเหมาะพอ การเจริญเติบโตของไม้พุ่มชนิดนั้น ๆ ด้วย ถ้าต้นไม้อยู่ในตำแหน่ง ที่ลมพัดแรง ก็จะทำให้ทุกต้นและ ควรรอจนไม้เหล่านั้นตั้งตัวได้ จนแตกใบใหม่ออกมา จึงเริ่มตัดแต่งที่ตรงพุ่มให้เป็นตามที่ต้องการ
การปลูกไม้คลุมง่ายต่อ การถอดกระถางออก เพราะเป็นกระถางเล็ก จะลงไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน เมื่อถอดกระถอด อย่างลืมเอาเศษกระดาษที่รองใต้กระถางออก ด้วยถ้าภายในกระถาง มีหลายต้นก็แยกออกปลูกได้ จะได้ประหยัดต้นไม้อีก เพราะไม้คลุมดินเติบโตได้เร็ว และต้องตัดแต่งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้หนาแน่นไป

การปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ สมควรให้เป็นไปตามที่กำหนด แต่เมื่อได้ทำการปลูกและจัดวางตามแปลงไว้ ความรู้สึกของ ผู้ออกแบบ ที่มองสวนในขณะนั้นไม่สมบูรณ์ หรือมีความรู้สึกว่าบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป ก็สมควรที่ จะเพิ่มเติมบางส่วนโดยใช้ต้นไม้, หิน ฯลฯ เพื่อให้บริเวณนั้น ๆ ดูเหมาะสมกลมกลืนมากขึ้น การปรับปรุง และการเพิ่มเติมนี้จำเป็นแทบทุกครั้ง เพราะเคยกล่าวแล้วว่า แบบจะให้ผล สมบูรณ์เพียง 80 – 85 % เท่านั้นจะไม่ครบถึง 100% เต็มตามที่ได้กล่าวไว้ นอกจากในกรณีจำเป็นจริง ๆ เช่นงบประมาณที่กล่าวไว้มีจำนวนจำกัดมาก หรือเจ้าของบ้าน พอใจให้เป็นตามแบบ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบ อาจชี้แจงให้เข้าใจ หรือจะจบงานไว้เพียงแค่นี้ไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นผลดีต่อผู้ออกแบบ เพราะในความรู้สึกของผู้ออกแบบจะทราบถึงข้อบกพร่อง ที่ต้องเพิ่มเติมแก้ไข แต่เมื่อทำไม่ได้ก็จะทำให้ผู้ออกแบบ ไม่ภูมิใจในผลงานเท่าที่ควร เพราะถือว่าไม่ได้ ทำหน้าที่ของตนเอง อย่างสมบูรณ์



7) การปูหญ้า (Lawn Installation)

ก่อนที่จะปลูกหญ้า ควรจะปรับที่ให้เรียบ เพราะหน้าดินอาจจะถูกซะเป็นร่องหรืออาจเป็นหลุม ควรปรับให้เรียบ โดยใช้ดินถม หลุมอัดให้แน่น ดูการระบายน้ำเมื่อฝนตก หรือเมื่อรดน้ำเพื่อปรับระดับ ก่อนปลูกหญ้า
เมื่อปรับระดับเรียบร้อยแล้ว ก็ควรสั่งทรายและหญ้า ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล โดยกะจำนวนให้ถูกต้อง
หญ้าควรเลือกชนิด ให้ถูกต้องต่อสภาพของแสง เช่น ในร่มใช้หญ้ามาเลเซีย, แดดจัดใช้หญ้านวลน้อย, ญี่ปุ่น เบอร์มิวด้า ควรคำนวณว่า อย่างละกี่ตารางเผื่อขาดเหลืออีก 10 – 20 m ควรสั่งหญ้ามาส่งภายในวันที่จะปลูก ถ้าปูหญ้าหลายวัน ควรทยอยส่ง จะไม่ทำให้หญ้าเหลือง
ทราย อาจใช้หนา 1 – 2 cm คำนวณคร่าว ๆ ใช้ทราย 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร กะสั่งทรายมาส่งก่อนหญ้า 1 วัน
ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย ก.ท.ม 1 กระสอบต่อพื้นที่ 60
ปูนขาว เพื่อลดความเป็นกรดของดิน 1 ถุงต่อพื้นที่ 60 ใช้ปูนขาวฝุ่น ไม่ควรใช้ปูนขาวก่อสร้าง
มีดสำหรับตัดหญ้า, ไม้สำหรับทุบขอบหญ้า หรือลูกกลิ้งบกหญ้า
เมื่อวัตถุมีพร้อมทุกอย่าง ควรเริ่มโดย การนำทรายไปเกลี่ย บนพื้นที่ปลูกหญ้าใช้ไม้ปาดให้เรียบ เพื่อปรับระดับที่เป็นหลุมบ่อเล็กน้อย ให้สม่ำเสมอ โปยปูนขาวและปุ๋ย คอยหรือปุ๋ยเทศบาลให้ทั่วเริ่มปลูกหญ้าที่วางพับกันไว้ อาจปูตามแนวใดแนวหนึ่ง ของสนามก็ได้ วางหญ้าให้ขอบชิดกันพอดี หรือห่างกัน 1 cm เพื่อจะได้ใช้ลูกกลิ้งอัดทั้ง 4 ด้าน อีกครั้ง แต่ถ้าไม่มีลูกกลิ้งก็ปูหญ้า โดยจับขอบให้ชิดกันสูงจากนั้น 1 นิ้ว แล้วใช้มือทุบลงให้ชนกัน สนิทที่พ้น หรือใช้ไม้ทุกอีกครั้งหนึ่ง ให้ทั่วและปูต่อกันไปเรื่อย ๆ บริเวณโคนต้นไม้ควรปูให้ทับโคนแล้วตัดออกเป็นรูปวงกลม หลีกเลี่ยงการปูที่ต้องแซมหญ้านั้นเล็ก ๆ นิดเดียวเพราะโดยโอกาสตาย จะมีมากกว่าพื้นใหญ ่เมือปูให้ส่วนหนึ่งแล้ว ควรลดน้ำตามให้ชุ่มนอกจากดิน จะชื้นมากอยู่แล้ว แต่ถ้ารดน้ำทันทีที่ปูเสร็จวันละ 2 – 4 ครั้งจนถึง 2 อาทิตย์ จึงลดวันละครั้งให้ชุ่ม

8) การปูทางเท้า (Laying pavements)

ควรปูทางเท้าหลังจากที่ได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดแนวทางเท้าบนสนามหญ้าให้ถูกต้อง อาจจะใช้ปูนขาวโรยเป็น แนวทางตามแบบ
เลือกวัสดุที่ทำเป็นทางเท้า ซึ่งมีหลายเหลี่ยมและหลายขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 cm, 30 cm รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือหกเหลี่ยม ส่วนความหนานั้นแล้วแต่ชนิดของวัสดุ

หินล้าง : สะดวกในการใช้ ปลอดภัย สวยพอประมาณ ราคาปานกลาง
หินกาบ : ระวังเรื่อง ความคมของหินกาบ สวยมาก ราคาสูง
ซีเมนต์อัด : เป็นรูปต่าง ๆ ของบริษัทปูนซีเมนต์
ซีเมนต์ : แบบเรียบสี่เหลี่ยม ไม่มีสี ราคาถูก
ศิลาแลง : หนา 10 cm สวยเหมือนธรรมชาติ แต่เปราะง่าย

นอกจากตัวอย่าง ทางเท้าสำเร็จรูปที่กล่าวมาแล้วก็อาจมีทางเท้าที่ทำขึ้น ด้วยซีเมนต์เป็น ตลอดแนว เช่น ลาดซีเมนต์เอากรวดโรย, หินหรืออิฐเป็นก้อน ๆ เป็นต้น ถ้าทำทางเท้าแบบนี้ควรทำก่อนจะปลูกหญ้า
เมื่อเลือกวัสด ุที่จะทำเป็น ทางเท้าได้แล้ว ก็จะทำการปูไดเลย โดยปูห่างจาก จุดศูนย์กลางของแผ่นเท่ากับ 60 cm เพราะถ้าใกล้กันเกินไป จังหวะที่พลาดไปคือเดินลงไปบนหญ้าสลับกับทางเท้า ถ้าจะให้แน่ใจควรลองวางดูด่อนเล้ว เดินดูก่อนแล้วเดินดูก็จะดี เมื่อวางแผ่นทางทางเท้าลงบนเส้นที่กำหนด คือ ให้แนวปูนขาวเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นทางเท้าเท่ากันตลอด ใช้มีดเฉือนหญ้าตามรูปแผ่นทางเท้า

9) การตัดหญ้า, ให้ปุย, ฉีดยาฆ่าแมลง (Mowing, Fertilizing and Past Control)

เมื่อปูหญ้าได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ควรตัดหญ้าที่ปูไว้จะขึ้นไม่เสมอกัน ไม่ควรปล่อยให้หญ้าสูงเกินไป หรือมีดอก เพราะจะทำให้ หญ้าเหลือง เมื่อตัดหญ้าออก ควรตัดหญ้าแห้งไม่เปียกน้ำ แต่โดยประมาณ 12 – 14 วันต่อ 1 ครั้ง โดยตัดออกประมาณ ส่วน
ส่วนเครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้ามี

1. กรรไกร ใช้ตัดแต่งสนามแคบ ๆ
2. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัดหมุน ใช้ตัดหญ้าได้สูง 1 – 5 นิ้ว
3. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด หรือลูกกลิ้ง เมื่อตัดหญ้าเรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 13 สลับกับปุ๋ยยูเรีย

แบบของการจัดสวนแบ่งออกเป็น 4 แบบคือ การจัดสวนแบบประดิษฐ์ การจัดสวนแบบธรรมชาติ

สวนประดิษฐ์ [Formal styles]

พื้นที่ใน การจัดสวนแบบประดิษฐ์ จะเป็นพื้นที่ราบเรียบได้ระดับ ไม่นิยมพื้นที่ ที่มีระดับสูง ๆ ต่ำ ๆ การจัดวางต้นไม้หรือวัตถุ จะต้องทำให้เกิด ความสมดุลแบบประดิษฐ์ หรือ Formal balance นั้นเอง โดยที่ต้นไม้หรือวัตถุจะต้อง ชนิด เดียวกัน รูปทรง เหมือนกัน ขนาด เท่ากัน จำนวน เท่ากัน ระยะห่าง เท่ากัน จำนวนต้นไม้หรือวัตถุจะจัดแบบคู่ขนาน คือ จำนวน 1 : 1 หรือ 2 : 2 ฯลฯ ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด การปลูกไม้ประดับยืนต้น การจัดแปลงไม้ดอก/ไม้ใบ และการจัดวางวัสดุต่าง ๆ ซ้ำกัน(1 : 1 หรือ 2 : 2) จึงจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ในการจัดมาก รูปทรงต้นไม้หรือวัตถุต่าง ๆ มีรูปทรงแบบเลขาคณิต เช่นต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม แปลงไม้ดอก/ไม้ใบ จะตัดแต่งเป็รูปทรงกลม หรือรูปทรงเหลี่ยม ส่วนวัตถุต่าง ๆ เช่นกระถางต้นไม้ โคมไฟฟ้า อ่างน้ำพุ ฯลฯ มักมีรูปทรง หรือ เหลี่ยม เช่นเดียวกัน แปลงไม้ดอกไม้ใบ จะปลูกขัดสลับลวดลาย และตัดแต่งเรียบร้อยเป็นระเบียบมีสีสีนฉูดฉาด ถนน หรือ ทางเดินภายใน บริเวณสวน มักจะเป็นเส้นตรง หรือ อาจมีโค้งบ้างแต่ได้ระดับ สวนแบบประดิษฐ์ นี้มักจะมีอาคารใหญ่ สร้างอย่างปราณีต เป็นฉากอยู่ ด้านหลัง


สวนธรรมชาติ (informal styles)

พื้นที่ในการจัดสวนแบบธรรมชาติจะจัดให้เป็นเนินหลั่นกัน มีพื้นที่สูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกับที่ราบเหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การจัดวางต้นไม้และวัตถุจะต้องเกิด ความสมดุลแบบธรรมชาติ หรือ Infomal balance นั่นเอง ชนิด รูปทรงและขนาด จำนวน และ ระยะห่าง ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหรือเท่ากัน ใช้ความชำนาญของสายตาพิจารณาน้ำหนักสีของต้นไม้หรือวัตถุทั้งสองข้าง ถ้าน้ำหนักเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันก็ถือว่า ทั้งสองข้างนั้นสมดุลกัน (แบบธรรมชาติ) การจัดวางต้นไม้หรือวัตถุแบบจำนวนคู่ขนาน 1 : 1 หรือ 2 : 2 ฯลฯ จะไม่ปรากฏให้ได้เป็น เมื่อไม่ได้จัดวางซ้ำ ๆ กันแบบ 1 : 1 หรือ 2 : 2 ฯลฯ จึงใช้เนื้อที่ในการจัดไม่มากนัก การประดิษฐ์แบบเรขาคณิต มีความสำคัญเป็นรองการตัดแต่งหรือประดิษรูปทรง เช่น ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยมจึงไม่ปรากฏเด่นชัด ลักษณะการจัดจะจัดให้มีแต่เค้าโครงเท่านั้น เช่นการจัดหาพันธุ์ไม้ ที่มีรูปทรงแบบเรขาคณิต ตามธรรมชาติ ที่ต้องการโดยไม่ต้อ งตัดแต่ง สระน้ำ ลำธารมีรูปร่างอิสระ (free form) เหมือนเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้น้ำและพืชคุมดิน (ground cover) มักมีสีสันไม่ฉุดฉาดโดยทั่วไป มักจะมีสีเขียว เป็นส่วนใหญ่ จะออกดอกเพิ่มสีสันให้สวนบ้างก็ตามฤดูกาลเท่านั้น ถนนหรือ ทางเดินภายในสวน มักจะสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามระดับพื้นที่ของสวน และคดโค้ง ไปตามส่วนต่าง ๆ ของสวน เพื่อนำไปชม ความงามของสวนย่อม ณ จุดต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภายในบริเวณสวน จะเป็นบ้านหลังเล็ก ๆ กลมกลืนไปกับสวน
ส่วนประกอบอื่น ๆ อาทิ หน้าผา น้ำตก ลำธาร โขดหิน สระน้ำ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และพืชคุมดิน จะไม่บังคับให้อยู่ในกรอบ พยายามสร้าง ความกลมกลืน อย่างอิสระทุก ๆ จุด ไม่แสดงส่วนใดส่วนหนึ่ งอย่างเด่นชัดเหมือนสวนแบบประดิษฐ์ แต่จะรวมกัน ในลักษณะของ ความกลมกลืน เหมือนเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ความงามของสวน เหล่านี้เกิดจาก การจัดต้นไม้และสีของพันธุ์ไม้ให้กลมกลืนกัน การปลูกต้นไม้ไม่จำเป็นต้องมากชนิด เพราะผิดไปจาก ธรรมชาติ ผู้จัดจะต้องเข้าใจความเป็นมาหรือการเกิดตามธรรมชาติ เพื่อจะได้เลียนแบบ และสร้างบรรยากาศภายใน สวนให้เหมือนธรรมชาติอย่างแท้จริง สวนแบบนี้บรรยากาศตรงกับความต้องการของมนุษย์ อาจสรุปการจัดสวนแบบธรรมชาติได้ดังนี้

1. พื้นที่เป็นเนินสลับที่ราบ
2. ความสมดุลแบบธรรมชาติ
3. จำนวนคู่ขนาน 1 : 1 , 2 : 2 ไม่ปรากฏ
4. ใช้เนื้อที่ในการจัดไม่มากนัก
5. รูปเลขาคณิตมีความสำคัญเป็นรอง
6. ส่วนมากมีแต่สีเขียว ไม่ฉูดฉาด
7. ถนน/ทางเดิน สูง ๆ ต่ำ ๆ คดโค้ง
8. มีบ้านหลังเล็กกลมกลืนกับสวน

สวนจินตนาการ (Imaginative Style)

สวนในลักษณะนี้จะจัดกันน้อย และมักจะจัดเฉพาะในโอกาสพิเศษ หรือเพื่อการแสดง นิยมนำสิ่งก่อสร้างบางส่วน ทางสถาปัตยกรรมในอดีตมาเป็นส่วนประกอบในสวน เช่น เอาสไตล์ของเสากรีกโรมัน กำแพงเมือง ซุ้มประตู หรือบางส่วน บางมุมของตัวอาคารมาใช้ต้นไม้ที่นิยม ตัดแต่งรูปเป็นลักษณะพิเศษตามจินตนาการ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศและเนื้อหาที่จัดแสดง บาง ลักษณะจะตัดแต่งต้นไม้เป็นเรื่องราวของคน สัตว์และสิ่งก่อสร้างซึ่งนับได้ว่า เป็นสวนจินตนาการ เช่นกันบุคคลบางคน ที่ชอบคิดชอบฝันสร้างสรรค์อะไรที่เป็นพิเศษออกไป ก็อาจจะจัดให้มีสวนลักษณะนี้ไว้ดูเล่นในบ้านก็ได้

สวนนามธรรม (Abstract Style)

หรืออาจจะเรียกว่าสวน Free Style ก็ได้ เพราะสวนลักษณะนี้เริ่มนิยมจัดในยุคหลัง ๆ นี้เอง เป็นการจัดให้ฉีกแนวจาก ความซ้ำซากจำเจ เหมือนการวาดภาพ งานศิลปะลงไปบนแผ่นกระดาษหรือผืนผ้าใบ แต่แทนที่จะแต่งแต้มสีสันเหมือนอย่าง เขียนงานศิลปะลงไปก็ใช้สีสันของต้นไม้แต่งแต้มลงไปแทน การนำต้นไม้มาปลูกหรือจัดวางให้ มีจังหวะ เส้นสาย มีช่องว่าง หรือรูปฟอร์มตามทฤษฎี หรือลักษณะงานศิลปะสมัยใหม่ที่นิยมกัน
เหมือนการสร้างงาน จิตรกรรม บนผืนผ้า เน้นการจัดเพื่อถ่ายทอด ความรู้สึก ความบันดาลใจในงาน ศิลปะของศิลปินผู้สร้าง กับประโยชน์ใช้สอย จึงอาจจะแตกต่างไปจากสวนสไตล์อื่นเช่น Formal style หรือ lnformal style โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนลักษณะ lnformal style จะคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและจุดประสงค์ก่อนจะนำศิลปะมาเสริมแต่งสร้างสรรค์ ให้สวยงามยิ่งขึ้น


สวนไทย

พันธุ์ไม้ที่นำมาปลูกมีทั้งไม้ดอกและไม้ผล เนื่องจากเป้นพืชเศรษฐกิจมา ช้านานแล้ว
พระเจ้าแผ่นดินและอุปราชเท่านั้น จึงจะมีพระราชอุทยานหรือสวนขนาด ใหญ่ได้ นิยมสร้างอยู่นอกกำแพงวังเป็นสวนแบบธรรมชาติ เป็นเขตหวง ห้าม มีผู้ดูแลสวน ประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปได้
สวนที่ใช้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมถาวร มักจะเป็นสวนไม้ดัด และไม้กระถางเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในพระราชวัง พระอารามใหญ่ๆ สวนภู เขาจำลองที่เรียกว่า เขามอ มีอยู่แต่ในพระราชวัง วัง และพระอาราม ต่างๆเช่นกัน เพราะถือว่าจะไทำสวนชนิดจี้ในบ้านสามัญชน เว้นแต่ผู้ที่มี บุญบารมี นอกจากนี้ยังมีเขาก่อซึ่งเป็นสวนภูเขาจำลองอีกชนิดหนึ่ง เพื่อ ใช้ในพระราชพิธีซึ่งจัดในพระราชฐานเท่านั้น

สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1820-1860 ปรากฎความ ตามศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “ในเมืองสุโขทัยนี้ จึงชมสร้างป่าหมาก ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลาง (ลาน) ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขาม ก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างไว้ได้แก่มันกลางเมืองสุโขทัย” ความนี้เป็น หลักฐานที่ทำให้พออนุมาน ได้ถึงสภาพ ภูมิทัศน์ของเมืองสุโขทัยเดิม ว่าเต็มไปด้วยสวนพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่คงได้รับ การดูแลจากผู้ปกครองแผ่นดินในสมัยนั้นๆ เป็นอย่างดี ยังมีความตามจารึกหลักที่ 1 ที่กล่าวถึงอีก พันธุ์ไม้ที่พึงจะมีความสำคัญมากเช่นกันในสมัยสุโขทัย คือ ไม้ตาล (ตาล หรือ ตาลโตนด Borassus Flabelliffer Linn.) ความว่า “พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสีสัชนาลัย สุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า” โดยไม้ตาล นี้สันนิษฐานว่าได้พันธุ์มาจากประเทศอินเดีย ชาวอินเดียเรียกว่า “ไม้ตาละ” และเป็นไม้ที่มีความสำคัญในศาสนาพุทธ เมื่อพ่อขุนรามคำแหงทรงขยายเมืองสุโขทัยออกไป ก็ทรงสร้าง ป่าไม้ตาล ไปด้วยประกอบกัน ทั้งยังใช้ ป่าไม้ตาลเป็นสถานที่ให้ข้าราชบริพารและชาวบ้านชาวเมืองเข้าเฝ้าอีกด้วย

สมัย กรุงศรีอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้น สวนที่สร้างขึ้นใน พระบรมราชวัง คงเป็นทั้งสวนที่มีทั้ง พันธุ์ไม้ดอก และ ไม้ผลปลูกประดับ เช่นเดียวกับสวน ครั้งกรุงสุโขทัย สวนขนาดใหญ่ของ พระเจ้าแผ่นดิน มักจะอยู่นอก กำแพง พระราชวัง หรือนอกกำแพงพระนคร อาทิ สวนหลวงสบสวรรค์ ที่อยู่นอก กำแพง พระราชวัง ไปทางตะวันตก มีพระราชอุทยานอีกประเภทคือพระอุทยานในบริเวณ พระตำหนัก ที่ใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาส การแต่งพระอุทยาน มักขึ้นอยู่กับ ภูมิประเทศอันเป็น ที่ตั้งของ พระตำหนัก เป็นสำคัญ ทั้งนี้พระ อุทยานของ พระเจ้าแผ่นดิน ถูกกำหนดเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปได้ ไม่ปรากฎ สวนสาธารณะ ที่สร้างสำหรับ ประชาชนทั่วไปใน สมัยอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีที่ว่างสาธารณะ ที่ประชาชน จะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ในพระนคร คือ บริเวณบึงพระราม (บึงชีขัน) ซึ่งนับว่า เป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดภายในกำแพง เมืองกรุงศรีอยุธยา หากจะมี การละเล่นหรือ การพักผ่อน ที่ต้องการ พื้นที่กว้างขวางขึ้น ราษฎรก็จะออกไปสู่ทุ่งนอกกำแพง
พ.ศ. 2199-2231 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบันทึกของบาทหลวง ชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์ ทรงสร้างราชธานีที่ลพบุรี ซึ่งพอใช้เป็นหลักฐานในการสันนิษฐาน ถึงงานภูมิทัศน์ที่ปรากฎในรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ฯได้้มากกว่า รัชสมัยที่ผ่านมา เป็นยุคสมัย ที่มีการนำ เทคโนโลยีสถาปัตยกรรมยุโรปมาประยุกต์ใช้ อาทิ รูปทรงซุ้มประตู ซุ้มทางเดิน ผังอาคาร ในพระราชวัง ตลอดจนการล้อมรอบพระราชฐานด้วยสวน มีสวนที่สำคัญอยู่ในพระราชอุทยานบริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ ซึ่งจากบันทึกของนิโคลา แชส์แวร์ บาทหลวงฝรั่งเศสที่เข้ามาในราชสำนักในสมัยนั้น ระบุไว้ว่า พระอุทยานในพระราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรีแห่งนี้ มีการทำภูเขาจำลอง มีไม้พันธุ์ไม้เขียวชอุ่ม ไม้ดอกหอม และมีน้ำพุ ให้ความชุ่มชื่น กับบริเวณ เหตุที่สามารถ ทำน้ำพุในพระอุทยานในสมัยนี้ได้ ก็ด้วยบาทหลวง และนายช่างชาวฝรั่งเศส และอิตาเลียนคงจะมีทักษะและเห็น ตัวอย่างมาจากยุโรป โดยเฉพาะที่วิลล่า เดสเต้ ที่เมืองทิโวลี่ในอิตาลี และจากพระราชวังแวร์ซาย ในฝรั่งเศส ประกอบกับ แรงดันของน้ำประปา ที่ส่งเข้ามายังตัวเมืองลพบุรีก็มีมากพอที่จะทำน้ำพุได้ด้วย พระราชอุทยาน ที่เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก อีกแห่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ คือ “ป่าแก้ว” ซึ่งเป็นพระราชอุทยานที่ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเสด็จประพาสบ่อยครั้ง ป่าแก้วนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้สนพระทัย และสร้างสวนแก้ว ขึ้นในพระตำหนักวังท่าพระ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร



สมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้สร้างสวนในพระบรมมหาราชวัง ตามลักษณะของ สวนในพระราชวังหลวง ที่กรุงศรีอยุธยา โดยโปรดฯให้สร้างพระราชอุทยานขนาบพระมหามณเฑียร และทรงขนานนามว่า “สวนขวา” และ “สวนซ้าย” โดยลำดับ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงโปรดฯให้มีการปรับปรุงสวนขวา ในปีพ.ศ.2361 โดยให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ฯ เป็นแม่กองจัดสร้าง โดยมีผังเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีภูเขาจำลอง เป็นเกาะน้อยใหญ่เรียงรายโดยมีสะพานเชื่อมถึงกัน และมีเก๋งที่พัก สำหรับเป็นที่สำราญพระราชหฤทัย กอปรกับเป็นการบำรุงรักษาฝีมือช่างไทย และเป็นเครื่องแสดง ความรุ่งเรืองของพระราชอาณาจักร ซึ่งนอกจะเป็นสวน ที่มีพันธุ์ไม้ดอกและไม้ใบจำนวนมากแล้ว ยังทรงสร้าง สวนประดับหิน (Stone Garden) ที่ได้รับอิทธิพลจาก สวนจีน เรียกว่า “เขามอ” ในรัชกาลที่ 3 มีพระราชนิยมในการบูรณะพระอารามต่างๆ และมีการใช้ตุ๊กตา ศิลาจำหลัก ซึ่งมีทั้งตุ๊กตา จีน ไทย ฝรั่ง และรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งประดับไว้ในวัด ในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ บูรณะปฏิสังขรณ์ พระที่นั่งและโรงมหาสภา ในบริเวณใกล้สวนขวา ซึ่งทรุดโทรมลง และยกเป็นพุทธเจดีย์สถานอาราม ภายในพระราชวัง
โดยมี การบำรุงสวน และ ปลูกพันธุ์ไม้ดอก ที่มาจากต่างประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับปรุง บ้านเมืองให้สวยงาม (City Beautification) นอกจากเรื่องการจัดวางผังเมืองกรุงเทพฯ ให้มีความสวยงามร่มรื่น และเป็นระเบียบ เรียบร้อยขึ้นแล้ว ทรงโปรดฯ ให้สร้างสวนไว้ตาม พระบรมมหาราชวัง มหามณเฑียร พระราชวัง และตำหนักต่างๆ อาทิ สวนลายประดิษฐ์ (Formal Style) ณ หมู่พระตำหนักเกาะสีชัง ชลบุรี สวนลานหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สวนภูเขาบริเวณหลังพระที่นั่งจักรี ทรงโปรดฯให้สร้างสวน “เขาไกรลาส” ขึ้น และสร้างเขาไกรลาสเล็กข้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นลักษณะเขามอยอดเจดีย์ สำหรับประกอบพิธีโสกันต์

สวนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้สร้างวังเลียน แบบสมัยกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้สร้าง พระราชอุทยาน ขนาบพระ มหามณเฑียรขึ้น และได้ทรงขนานนามว่า สวนขวา และสวนซ้าย มี การนำเอาไม้ประจำถิ่นของไทยมาปลูกไว้ รวมทั้งไม้กระถาง หรือไม้ ดัด สร้างภูเขาหินจำลองก่อด้วยหินฟองน้ำหรือหินปะการัง ขุดสระ และนำบัวมาปลูก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ขยายเขตพระบรม มหาราชวังไปยังทิศใ ต้ ปรับปรุงสวนขวา สร้างสวนน้ำเลียนแบบ สวนจีน และมีการปลูกเลี้ยงกุหลาบแพร่หลาย เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อน ของเจ้านายฝ่ายใน


การจัดสวนไม้ประดับแบบจีน ซึ่งได้รับความคิดมาจากธรรมชาติ พยายามดึงธรรมชาติให้เข้ามาอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด มีเอกลักษณ์ การจัดเป็นของตนเองโดยมีความคิดในการจัดคือ

การจัดรูปแบบเป็นเนินดินสูง - ต่ำ (Slope) และปลูกหญ้า
การจัดแบบพื้นราบ มีสระน้ำ บ่อน้ำ ธารน้ำและก้อนหิน
จัดปลูกต้นไม้แบบยืนต้น เช่น ต้นสน หลิว ไผ่ ต้นหลิวจะปลูกไว้ตามขอบสระน้ำ กิ่งใบจะย้อยลงสู่พื้นน้ำอย่างสวยงาม ส่วนต้นสนก็จะตัดแต่งกิ่งก้านและลำต้นให้คดโค้งไปมา
จัดประดับสวนด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น เก๋งจีน หรือเจดีย์แบบหกเหลี่ยมซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น
จัดสวนด้วยสะพานทอดโค้งข้ามลำธาร ข้ามเกาะ พื้นสนามที่ปลูกหญ้า จะมีทางเดินคดโค้งไปม าด้วยเส้นที่อ่อนหวานกลมกลืนกับธรรมชาติ


การใช้ต้นไม้ เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก วัสดุพืชพันธุ์หลากหลาย มี ความชำนาญเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีการสะสมมานาน เป็นพันปี เช่น – ต้นเบญจมาศ หรือ เก๊กฮวย – ต้นพีช – ต้นส้ม – อะซีเลีย ,lilly, liac, rodorendon

ค.ศ. 1600 มีนักสะสมพันธุ์ไม้ชาวอังกฤษและดัทช์ทำให้พันธุ์ไม้จากจีน แพร่กระจายไปยังตะวันตก

ต้นไม้ที่เป็นสัญญลักษณ์ในสวนจีน

บัวหลวง ในภาษาจีน เมื่อออกเสียงจะพ้อง กับคำว่า ความกลมกลืน ใช้เป็นตัวแทนของมิตรภาพ สันติภาพ และการรวมกันอยู่อย่างสันติสุข บัวในลัทธิเต๋า หมายถึง อมตะ ในพุทธศาสนา บัวเป็นฐานรองนั่งของ พระพุทธเจ้า และสัญญลักษณ์ของการหลุดพ้น
ดอกเบญจมาศ หรือเก็กฮวย
ต้นสน ไม้ยืนต้นสี่ฃเขียวตลอดปี อายุยาว
ต้นไฝ่ สุภาพบุรุษที่โอนอ่อนผ่อนตาม
ต้นกล้วย ความทะเยอทะยานไผ่รู้ ความอุดมสมบูรณ์
หลิว ใช้ใบในการพรมน้ำศักดิ์สิทธิ กิ่งก้านและใบที่โอนเอนเหมือนความงามผู้หญิง
ต้นพลับ (Persimmon) มีผลสุกสีทองเป็นสีแห่งความสุข
ต้นพีช (Peach) หรือท้อ ฤดูใบไม้ผลิ การแต่งงาน และความเป็น อมตะ
ต้นแพร์(Pear) ความยืนยาวและการปกครองที่ดี
ต้นพลัม (Plum) ปลูกเพื่อดอกมากกว่าผล เป็นเพื่อนในฤดูหนาว
ต้นทับทิม (Pomegranate) ความอุดมสมบูรณ์

การใช้ต้นไม้ในสวนจีน

ในสวนจีนมีการใช้ต้น


   
   


ราคา: ราคาย่อมเยาว์ โทร: 088-503-9922 ได้ตลอดเวลานะค่ะต้องการ: ขาย/ให้เช่า/แลก
ติดต่อ: วรรณอีเมล์: 
สภาพ: ใหม่ จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โทรศัพย์: 088-503-9922IP Address: 14.207.222.128

คำค้น: 



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  แล้วแต่ตกลง
  CALL
 
  ราคาย่อมเยาว์ โทร: 088-503-9922 ได้ตลอดเวลานะค่ะ
  ราคาพิเศษในช่วงเดือนนี้เท่านั้น โทรสอบถามราคาได้
  ราคาประหยัดคุ้มค่าโทรสอบถามราคาได้ที่ 088-503-9922
  ประเมินราคาก่อนสร้าง
  ราคาโดนใจ
  25,000
  12,000-45,000
  ราคาประหยัดคุณภาพมาตราฐานสูงสนใจสอบถามราคาได้ทันที
  โทรสอบถามราคาวัสดุกรองได้ตลอดเวลาครับยินดีส่งตจว.
  โทรสอบถามราคาวัสดุกรองได้ตลอดเวลาครับยินดีส่งตจว.
  ตีราคา
  ราคาประหยัดวัสดุมีคุณภาพสูงสินค้ามีเลยสามารถส่งได้
  ราคาประหยัดคุ้มค่าโทรสอบถามราคาได้ที่ 088-503-9922
  10,000-100,000
  ไม่ระบุ
  2,000-20,000
  30,000-50,000