หากท่านต้องการปลาหางนกยูงสวยงามพันธุ์ดีเหมาะเป็นสายพันธุ์ เพื่อเลี้ยงสวยงาม เพื่อเพาะพันธุ์ เพื่อนำไปขายต่อ เรา อ.ชัชหางนกยูงฟาร์มขอเสนอปลาหางนกยูง ตัวละ 5 บ. โทร 0890588585 086-5007345 อ.ชัช
อาจารย์ชัช หางนกยูง ฟาร์ม
คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่เวปไซค์ของเรา เพื่อดูรายละเอียด ครับ http://www.siambig.com/shop/index.php?shop=GUPPY
- เราจำหน่ายพันธุ์ปลาหางนกยูงสวยงาม สายพันดี เหมาะเป็นพ่อแม่พันธุ์
- นำไปขายต่อ
- นำไปเลี้ยงในบ่อหน้าบ้านเพื่อฮวยจุ้ยที่ดีของบ้าน
- เราขายปลีก และ ขายส่ง
- ตัวละ 5 บาท
โทร 089-058-85-85 086-500-7345 อ.ชัช
..........................................................................................................................
อยากเลี้ยงปลาหางนกยูง อ.ชัชมีคำตอบ ความรู้เรื่องเลี้ยงปลาหางนกยูง
การเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง
องค์ความรู้ด้านล่าง นี้เพื่อ เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ เลี้ยง ปลาหางนกยูง
--------------------------------------------------------------------------------
ปลาหางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters 1859 มีชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว Poecidae เป็นปลาอออกลูกเป็นตัว
และมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด
และน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ ปลาตัวผู้มีขนาด 3 -5 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาด 5 -7 เซนติเมตร ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
(Fancy guppies) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมือง ( Wild guppies) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ลักษณะ
เด่นที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัวและลวดลายบนครีบหางและรูปแบบของครีบหาง ซึ่งในการเรียกสาย
พันธุ์ต่างๆ จะถูกตั้งชื่อตามลักษณะ ดังกล่าว
ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง
ลักษณะลำตัว -> มีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ
ลักษณะครีบ -> ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับ
สีและลวดลาย -> ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจน
ความสมบูรณ์ของลำตัว -> ทรงตัวปกติ
การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์แล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลานับว่าเป็นปัจจัย
ที่ล้วนแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึง
วัยเจริญพันธุ์ เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมื่อลูกปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1- 1 1/2 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสม
พันธุ์กันเอง
น้ำที่ใช้เลี้ยง ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด – ด่าง (pH ) 6.5 – 7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มก.ต่อลิตร
ความกระด้างของน้ำ 75- 100 มก.ต่อลิตร ความเป็นด่าง 100 – 200 มก.ต่อลิตร และอุณหภูมิน้ำ 25 –29 ? C ควรมีน้ำไหลหมุนเวียนตลอดเวลา
อาหารที่ใช้เลี้ยง ปลาหางนกยูงสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous) ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จึงสามารถให้อาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก
เช่น ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemaia) หรือหนอนแดง(Chironomus) หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ที่มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40%
อาหารสดก่อนให้ทุกครั้งควรฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร โดยควรแช่อาหารในด่างทับทิมเข้มข้น 500 - 1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5 - 1.0 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร )
เป็นเวลาประมาณ 10 –20 วินาที ปริมาณอาหารสด ควรให้ 10% ของน้ำหนักตัวหรือให้กินแต่พออิ่ม ส่วนอาหารแห้ง ควรให้วันละ 2 - 4 % ของน้ำหนักตัวปลา
โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนการถ่ายเทน้ำควรจะทำทุกวัน โดยดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ ? ของปริมาณน้ำในตู้ แล้วเติมน้ำให้
เท่าระดับเท่าเดิม
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียเพื่อทำการผสม ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวมีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ โคนหางใหญ่ แข็งแรง
ครีบสมบูรณ์ ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด รูปร่างได้สัดส่วน แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม เพศผู้จะมีลักษณะต่าง
จากเพศเมียตรงที่อวัยวะในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopodium ซึ่งดัดแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมีย ควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกันหรือ
คล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่ลักษณะไม่แปรปรวนมากในการผสมพันธุ์ หากจำเป็นต้องเก็บลูกปลาที่เพาะไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในครั้งต่อไป ควรหาพ่อแม่ปลา
จากแหล่งอื่นมาผสมบ้าง เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด (Inbreeding) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกปลารุ่นต่อๆ ไป มีความอ่อนแอและมีอัตราการรอดต่ำ
การเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด 1 - 4 ตรม. ระดับน้ำลึก 30 –50 ซม. ใส่พุ่มเชือกฟางตะกร้าหรือฝาชี เพื่อให้ลูกปลาใช้เป็นที่ปลาหลบซ่อน
ขั้นตอนที่ 2 คัดพ่อแม่ปลาสายพันธุ์เดียวกันที่ลักษณะดีสีสวยอายุประมาณ 4 –6 เดือน โดยคัดปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ครีบหลัง ครีบหางใหญ่และแผ่กว้าง
สีเข้มสดใส สวยงาม ส่วนปลาเพศเมียคัดเลือกสายพันธุ์เดียวกันกับปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ปราดเปรียว ครีบหางเข้มสดใส ปล่อยรวมกันในอัตรา 120 -180
ตัว/ลบ.ม. ในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1:3 หรือ 1:4 ระหว่างการเพาะพันธุ์ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้า และให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเย็น ปลาเพศเมีย
ที่ได้รับการผสมแล้ว จะเห็นเป็นจุดสีดำบริเวณท้อง
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากแม่ปลาได้รับการผสมพันธุ์ประมาณ 26 –28 วัน จะมีลูกปลาวัยอ่อนเกิดขึ้นและหลบซ่อนอยู่ตามวัสดุที่มาใส่ไว้ในบ่อให้รวบรวมลูกปลาออก
ทุกวันสะสมไว้ในบ่ออนุบาล ประมาณ 4-5 วัน/ บ่อ เพื่อให้ลูกปลามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยปล่อยลูกปลาในอัตราความหนาแน่น 140-300 ตัว/ลบ.ม. ในระยะแรก
ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าและเย็นทุกวันเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลามีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะ
ที่เริ่มแยกเพศได้ โดยปลาเพศเมีย สังเกตจุดสีดำบริเวณรูเปิดช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ เมื่อมองจากด้านบนมีรูปร่างเรียวยาวกว่าเพศเมีย
ขั้นตอนที่ 4 คัดขนาดและแยกเพศปลา นำไปแยกเลี้ยงในบ่ออัตรา 200-300 ตัว/ลบ.ม.ให้กินไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าส่วนตอนกลางวันและตอนเย็นให้กิน
อาหารสำเร็จรูป เลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน (ปลามีอายุประมาณ 4 เดือน)
ขั้นตอนที่ 5 ปลาหางนกยูงอายุประมาณ 4 เดือน จะถูกคัดขนาดและคัดเลือกปลาที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อนำไปเลี้ยงไว้ในบ่อพักปลาเพื่อเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป
โรคที่พบในปลาหางนกยูงและวิธีรักษา
1. โรคจุดขาว (White spot disease) เกิดจากสัตว์เซลล์เดียว ชื่อ lchthyophthirus multifilis หรือชื่อย่อว่า lch (อิ๊ค)อิ๊คเข้าเกาะตัวปลาและฝังตัวที่
ผนังชั้นนอกของปลา สร้างความระคายเคืองปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มอิ๊ค ทำให้เห็นเป็นจุดสีขาว ยังไม่มีวิธีการกำจัดอิ๊คที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง แต่วิธีการที่ได้ผล
คือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำ สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน 25 - 30 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ผสมกับมาลาไค้ท์กรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้
ตลอด และควรจะแช่น้ำซ้ำอีก 3 - 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน จะให้ผลดีมาก โดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28- 30 องศาเซลเซียส
2. โรคที่เกิดจากปลิงใส เกิดจากปรสิตตัวแบน 2 ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dactylogyrus มักพบตามบริเวณเหงือกและผิวหนัง การรักษาใช้ฟอร์มาลิน
เข้มข้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือดิพเทอร์เร็กซ์เข้มข้น 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอดไป
3. โรคที่เกิดจากหนอนสมอ (Lerneae sp.) หนอนสมอมีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะกับตัวปลา การรักษาใช้ดิพเทอร์เรกซ์
เข้มข้น 0.25-0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด แล้วแช่ซ้ำ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
4. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เกิดจากพวกแบคทีเรียสกุล Aeromonas และ Pseudomonas อาการที่พบ คือ ครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน 1 -2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 -3 วัน ออกซีเตตร้าไซคลินหรือเตตร้าซัยคลินผสมลงในน้ำในภาชนะ
ที่เลี้ยงในอัตรา 10 - 20 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือจะใช้เกลือแกง 0.5-1% ก็ได้
ลักษณะปลาหางนกยูงบางสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง
สายพันธุ์ ลักษณะและสีของลำตัว ลักษณะและสีของครีบ
1. คอบร้า (Cobra)
Yellow cobra (คอบร้าเหลือง) หรือ
King cobra
Red cobra (คอบร้าแดง)
Multicolour (เจ็ดสี)
สีน้ำเงิน ม่วง หรืออื่นๆ
มีลวดลายเป็นแถบยาว
หรือสั้น พาดขวาง พาดตาม
ยาว หรือพบพาดเฉียงทั่ว
ลำตัวตลอดถึงโคนหาง
ลวดลาย คล้ายลายหนังงู
หางรูปสามเหลี่ยม
(Delta tail ) พัด
(Fan tail ) หรือหาง
บ่วง (Lyre tail )
ครีบหางมีหลากหลาย
และหลากสีสอดคล้อง
กับลำตัว
2. ทักซิโด้ (Tuxedo)
German tuxedo
Neon tuxedo (สันหลังสีขาวสะท้อนแสง)
Black tuxedo (ครีบหางสีดำ)
Golden tuxedo (ครีบหางสีส้ม)
Flamingo tuxedo
Bronze tuxedo
ครึ่งตัวด้านท้ายมีสีดำ
หรือน้ำเงินเข้ม
ครีบหลังและครีบหางหนา
ใหญ่มีสีและลวดลายเหมือนกัน
ครีบหางมีหลากหลายแบบ
3. โมเสค (Mosaic)
Red mosaic หรือ
Red butterfly หรือชิล
พื้นลำตัวสีเทาอ่อน
บริเวณด้านบนสีฟ้า
หรือเขียวอาจแซมด้วย
สีแดง ชมพู หรือขาว
ครีบหางรูปสามเหลี่ยม (Delta tail ) ปลายมุมบนและล่างมน
บริเวณโคนหางอาจมีสีน้ำเงินเข้ม
ครีบหางมีหลากหลาย
ครีบหลังขาวเรียบ หรือชมพูอ่อน
หรืออาจมีจุดหรือแต้มขนาดเล็ก
4. กร๊าซ (Grass)
Grass tail (หญ้าแก้ว)
Grass tail albino (เผือกตาแดง)
ลำตัวมีหลากสี ครีบหางมีจุดหรือแต้มเล็ก ๆ
กระจายแผ่ไปทั่วตามแนว
รัศมีของหางคล้ายดอกหญ้า
5. นกยูงหางดาบ (Sword tail )
Double sword (หางกรรไกร)
Top sword (หางดาบบน)
Bottom sword (หางดาบล่าง
ลำตัวมีสีเทา ฟ้า เขียว แดง
ชมพู เหลือง คล้ายหางนกยูง
พันธุ์พื้นเมือง
( Wild guppies)
อาจมีจุดหรือลวดลายบนลำตัว ครีบหางเป็นแฉกคล้ายปลาย
ดาบ อาจมีทั้งด้านบนและด้าน
ล่าง หรือด้านใดด้านหนึ่ง
ราคา: | 5 | ต้องการ: | ขาย/ให้เช่า/แลก | ||
ติดต่อ: | อ.ชัช ผลดี | อีเมล์: | |||
สภาพ: | ใหม่ | จังหวัด: | กรุงเทพมหานคร | ||
โทรศัพย์: | 0890588585 0865007345 | IP Address: | 118.172.233.142 | ||
คำค้น: | รูปภาพปลาหางนกยูง | ปลาหางนกยูงยักษ์ | ปลาหางนกยูงพันธุ์เรด | ปลาหางนกยูง | ขายปลาหางนกยูง | การเลี้ยงปลาหางนกยูง | ปลาหางนกยูง ลักษณะ | รูปภาพปลา | วิธีดู ปลาหางนกยูง | ปลาหางนกยูง การ์ตูน | |
ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ
[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
รูป | รายละเอียด | ราคา | |
ตั้งแต่ 250 | |||
0 | |||
6,000 | |||
4,000 | |||
3,500 | |||
ไม่ระบุ | |||
1,500 | |||
2,000 | |||
ราคาตามท้องตลาด | |||
ขายถูก | |||
15,000 | |||
28,000 | |||
2,500 | |||
1,300 | |||
3,000 | |||
1,800 | |||
13,500 บาท | |||
3,000 | |||
0 | |||
850 |