ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม1--ธรรมโฆษณ์ จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา จำนวน 516 หน้า

หน้าแรก » หนังสือ และ การศึกษา » หนังสือทั่วไป

ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม1--ธรรมโฆษณ์ จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา จำนวน 516 หน้า

แบ่งปันให้เพื่อน



ชุด-ธรรมโฆษณ์ ของ ท่านพุทธทาส

เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์เล่ม1--ธรรมโฆษณ์

จัดพิมพ์ โดย ธรรมทานมูลนิธิ ไชยา

จำนวน 516 หน้า

(การนับจำนวนหน้าของหนังสือ จะนับเฉพาะส่วนหน้าหา ไม่นับส่วน คำนำ สารบาญ และส่วนท้าย)



หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด


๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.

๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.

๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.

๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.

๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.

ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.



............................................................................................




ภาคนำ



ธรรมปาฏิโมกข์



1. ธรรมปาฏิโมกข์ คือ อะไร



ปรารภ เรื่อง ธรรมปาฏิโมกข์



การพูดกันที่นี่ ในวันเช่นนี้ ผู้ที่ไม่เคยฟังมาก่อน คงจะยังไม่ทราบเรื่อง จึงขอให้ตั่งใจฟัง ให้

เข้าใจเสียก่อน. การพูดนี้เราเรียกว่า ธรรมปาฏิโมกข์; ปาฏิโมกข์ทางวินัยนั้น กระทำทุกวัน

15 ค่ำ, ส่วนปาฏิโมกข์ทางธรรม ไม่ได้ทำกันเลย, เห็นว่ายังไม่ถูกเรื่อง น่าจะทำกันบ้าง. แม้ว่า

พระพุทธเจ้าจะไม่ได้บัญญัติปาฏิโมกข์ทางธรรมไว้โดยตรง; แต่เราพิจารณาดูจะเห็นได้ว่า ได้ทรง

บัญญัติไว้โดยอ้อมอย่างยิ่ง เช่นในข้อธรรมะตรัสไว้ว่า "ให้ประชุมกันเนืองนิจ, ให้ศึกษาสอบสวนทบ

ทวนอะไรกันอยู่เนืองนิจ" นี่แหละคือ ปาฏิโมกข์ทางธรรม

หน้า 2

ทางวินัยเรียกว่า ปาฏิโมกข์ ก็คือ เอาสิขาบท วินัยล้วน ๆมาอ่าน มาทบทวนสอบสวน อยู่เสมอทุก ๆ 1

5 วัน อย่าให้เฝือได้ ส่วนทางธรรมนี้ยังมากกว่านั้นอีก ถ้าไม่ทบทวนไว้แล้วจะเฝือยิ่งกว่านั้นอีก เพราะ

ธรรม ไม่ใช่ของบัญญัติเฉพาะ แต่เป็นของที่ปล่อยไปตามความคิดเห็นได้ ยิ่งเฝือได้ง่ายฉะนั้น จึงควร

ต้องทำปาฏิโมกข์ในทางธรรมเสียบ้าง 7 วัน หรือ 15 วัน ครั้งหนึ่งก็ยังดี ด้วยเหตุนี้จึงหาทางมาพบ

กันที่นี่ ทำปาฏิโมกข์ทางธรรมกันอีกชั่วโมงหนึ่ง ต่อจากปาโมกข์ทางวินัย.

เรื่องทำปาฏิโมกข์ทางธรรมนี้ อาจจะมีวัดไหนทำบ้างก็ไม่ทราบ ยังไม่เคยได้ยิน สำหรับ ที่

นี่ประสงค์จะทำปาฏิโมกข์ทางธรรมกันเสียบ้าง หรือทำกันเสียเป็นประจำเลย 7 วันครั้งหนึ่ง 

คือเอาหลักธรรมที่สำคัญ ๆ มาทบทวน สอบสวนซักซ้อม ทำซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ อย่าให้เลื่อนได้ 

อย่าให้เผื่อได้ เช่นเดียวกับที่เราสวดปาฏิโมกข์ทุก ๆ 15 วันนั้น ฉะนั้นจังมีการ มานั่งพูดที่นี่ 

คุยกันที่นี่เย็น ๆ ในวันพระ หรือวันอุโบสถ ราว 7 วันครั้ง หรือ 8 วันครั้ง 7วันก็ลงปาฏิโมก

ข์ธรรมะเสียสักครั้งหนึ่ง เพราะธรรมปาฏิโมกข์นั้น มีมากกว่าปาฏิโมกข์วินัยมีหัวข้อธรรมะอะไร 

ที่ควรจะพูดซักซ้อมกันไว้เรื่อย ๆ ก็จะได้นำมาพูด บางทีก็มีชาวบ้านมาร่วมฟัง

นี่เรียกว่าความมุ่งหมาย ที่มานั่งคุยกันที่นี่ เย็น ๆ ถ้ามีแขกพิเศษมาเยี่ยมจะมีความคิดเห็นอะไร 

มาพูดบ้างก็ได้ หรือเราเห็นว่า ผู้ใดมีความคิดเห็นอะไรบ้าง จะให้พูดแทน ก็ได้ เพราะมีประโยชน์

เหมือนกัน จะได้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระเณรควรจะได้ฟัง ความคิดเห็น ที่แปลกออกไปบ้าง ถ้าใครมา

เป็นพิเศษก็จะได้เชิญให้พูด อย่างวันนี้ มีผู้มาเยี่ยมที่นี่ใหม่ ๆ ก็จะเชิญให้พูดบ้าง

หน้า 3

วันก่อนครูผู้สูงอายุผู้หนึ่ง มาพักอยู่ที่นี่หลายวัน พอถึงวันนี้มานั่งด้วยก็เลยให้พูด ได้ความดี พูด

ตลอดโปรแกรมตามความคิดเห็น นับว่าดีมาก ได้เล่าถึงวิธีการที่รู้จักตัวเองอย่างไร ควบคุมจิตใจตัวเอ

งอย่างไร ฟังแล้วรู้สึกว่าเขาเป็นคนที่ทำได้ดี เขาเป็นคนช่างสังเกต กล่าวถึง ความอดกลั้น 

อดทน ตามวิธีของคนโบราณ ในการสังคมนั้น ก็ดีมาก ถ้าหากเราใช้วิธีนั้น ๆ กันอยู่ บ้าน

เมืองจะดีกว่านี้ จะมีความสงบเสงี่ยม มีความอดทนมีความคิดพิจารณามาก คนแต่ก่อน กว่าที่จะพูด 

จะทำอะไร เขารอได้ ทนได้ คอยได้ ไม่คิดตัดสั้น ๆ ว่ามันอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น เร็วนัก เขา

ต้องดูไปนาน ๆ พระเณรหนุ่มๆสมัยนี้ ไม่ค่อยทำ หรือทำไม่เป็นอย่างนั้น มักจิตใจวู่วาม พูดกันเองก็ยัง

ไม่ได้ดี ครูผู้หญิงอายุเจ็ดสิบเศษผู้นั้นยังพูดได้ดีกว่า ในสังคมเราจำเป็นอย่างนี้อยู่บ้าง ควรจะมีผู้ใหญ่

เป็นที่ปรึกษา ที่แนะนำ พิเศษออกไปแนะให้สังเกตเรื่องราวเป็นพิเศษอย่างนั้นบ้าง.



ธรรมะที่เรียนรู้ ใช้ประโยชน์ ได้เพียงไร หรือไม่

ธรรมะต่าง ๆ ที่พระเณรรู้กันอยู่แล้ว ดูจะไม่เป็นประโยชน์อะไร รู้กันมากเสียเปล่า ทั้งนี้ก็เรา

พะขาดส่วนปลีกย่อย ขาดวิธีการปลีกย่อยที่สำคัญนั่นเอง เมื่อไม่รู้จักอดทนพอ ก็ใช้ธรรมะให้เป็นประ

โยชน์ไม่ได้ ถ้าไม่อดทน ไม่ใจเย็นพอ แม่แต่จะเลือกธรรมะมาใช้ก็ทำไม่ถูก ครั้นนำมาใช้แล้ว ยัง

ไม่ทันจะมีผลก็เปลี่ยนเสียแล้ว เปลี่ยนเลิกไปเป็นอย่างอื่นเสียแล้ว เรียกว่าคนสมัยนี้ไม่มีความ

อดทน รอไม่ได้ คอยไม่ได้ จิตใจวู่วาม จึงเป็นเหตุให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้าไม่ถึง หรือเข้ายาก 

ไม่เหมือคนสมัยโบราณโน้น ซึ่งเยือกเย็นกว่า

เรื่องนี้คงจะเป็นปัญหาเถียงกันบ้าง บางคนก็ว่ามัว "เย็น" อยู่ไม่ได้ โดยอ้างเหตุผลบางประการ

หรือเขาไม่นิยมหลักเกณฑ์ที่ว่าเยือกเย็นนี้ ไม่นิยมการอดทนไม่นิยมการให้อภัย

หน้า 4

ไม่นิยมว่า แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร หลักเกณฑ์อย่างนี้เขาไม่นิยมกัน ธรรมะทำหน้าที่ของ

ธรรมะ ไม่ได้ อยู่มาก เพราะเหตุนี้ผู้ที่จะทำการใหญ่ เขาก็ไม่ค่อยจะเอา ไม่ยอมใช้วิธีของ

ธรรมะเสียแล้ว เราควรมาพิจารณากันบ้าง ว่าจะจริงไหม ที่ว่าธรรมะใช้ไม่ได้เสียแล้วสมัยนี้ 

นี่ก็เป็นการทบทวน สังคายนาเกี่ยวกับธรรมะให้ชัดเจนดีอยู่

มีปัญหาน่าคิดที่ว่า หลักธรรมแท้ ๆ ก็ยังเข้าใจกันได้ ไม่สมบูรณ์ เพราะมันหลายซับหลายซ้อน

หลายชั้นหลายเชิง แล้วเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าคนชั้นหลังไปทำให้มันมากขึ้น ทำให้มันมากวิธีการ 

มากความหมาย หรือว่ามากหลักเกณฑ์ ยิ่งขึ้นอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ เช่น เรื่องโลกิยะกับโลกุตตระนี้ 

พระพุทธเจ้าไม่เคยแบ่งคำสอนของพระองค์เป็นโลกิยะพวกหนึ่ง เป็นโลกุตตระพวกหนึ่ง ไปค้นดู

เถอะที่เป็นพระพุทธภาษิต จะไม่มีคำสอนแยกชั้นกัน มีแต่หลักธรรมกันอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นหลัก

พุทธศาสนา แล้วใครปฏิบัติได้เท่าไรก็ปฏิบัติเท่านั้น ตามความสามารถ ให้สุดความสามารถ ไม่

มีโลกิยะไม่มีโลกุตตระ คนชั้นหลังไปแบ่งเข้าเอง เดี๋ยวนี้ยิ่งตัดขาดออกจากกันเลย ธรรมะจะเป็น

โลกิยะโลกุตตระได้อย่างไร เพราะปรากฏว่า พระอริยเจ้า พระโสดาบัน พระสกิทาคามีนั้น ๆ 

เป็นฆราวาสครองเรือน มีลูกมีหลานเยอะแยะก็มี

ตัวอย่างคนที่รู้จักกันดี เช่น อนาถปิณฑิกะ นางวิสาขา ก็อยู่กะลูกกะหลานอยู่อย่างชาวบ้าน อยู่อย่างสังคม

จัดที่สุด อย่างนางวิสาขานี้ได้ยินว่า ไม่เว้นสังคมไหน ถ้ามีงานอันมีเกียรติที่ไหนเขาจะต้องมาเชิญตัวไป

เป็นที่ปรับทุกข์ ปรับร้อน เป็นที่ยิบยืม เป็นที่อะไรทุกอย่างสารพัด แล้วแกก็เป็นฆราวาส แล้วจะเลือก

การเป็นอยู่อย่างนั้นว่าโลกิยะอย่างไรได้ พวกฆราวาสเป็นโสดาบันมากกว่าที่เป็นพระเสียอีก จะเอา

โลกิยะไปให้ฆราวาสล้วน ๆ เอาโลกุตตระไปให้พระล้วน ๆนั้น ทำไม่ได้ มันผิดไปหมด

หน้า 5

เพราะว่า พระที่ไม่มีประสีประสาต่อโลกุตตระ แล้วกลับเป็นโลกิยะ ยิ่งกว่าฆราวาสเสียก็มี เพราะ

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่ตัดแยกเป็นโลกิยะโลกุตตระท่านว่า หลักธรรมมีอยู่อย่างนี้ ก็ปฏิบัติไปก็

แล้วกัน เช่น มรรคมีองค์แปดนี้ ใครปฏิบัติได้เท่าไร ก็ได้ผลเท่านั้น.



ฆราวาสควรสนใจ โลกุตตรธรรมด้วย

ปัจจุบันนี้คนเข้าข้างตัว ไม่อยากปฏิบัติธรรม คนก็เร่หาไปทางที่ต่ำ ๆ ไว้เรื่อย ต่ำไว้

เรื่อย ต่ำไว้เรื่อย จะไปสนใจเรื่องที่เป็นคิหิปฏิบัตินั้น สูตรบางสูตรเรื่องคิหิปฏิบัติกล่าวถึงเรื่องคนทำ

มาหากินควรต้องมีธรรมะอย่างไร บอกไว้ ๆ แล้วก็ไปยกมาว่า นี้เป็นพุทธศาสนาโลกิยะ อย่างนี้ก็ไม่ถูก

พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้รวมสิ่งเหล่านี้ในฐานะเป็นตัวพุทธศาสนา เว้นแต่ว่าเมื่อมีใครถามท่านบ้าง ถึง

เรื่องทำมาหากิน เรื่องหลักเกณฑ์ของชาวบ้าน ท่านก็พูดไปได้เหมือนกัน ตามความนิยมตามความรู้สึก

ของท่าน แต่แล้วในที่สุดจงดูให้ดีเถอะ ท่านไม่ได้สอนให้ยิ่งโลภมากยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากเลย

คำสอนในสิงคาโลวาทสูตร หรือสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ทั้งหลายนั้นไม่มีแง่ไหนที่สอนให้คน

โลภมาก หรือเป็นฆราวาทต้องยิ่งโลภ ยิ่งมีกิเลสมาก ยิ่งถือมั่นมาก กำหนัดมาก อย่างนี้ไม่มี มีแต่เรื่อง

สอนให้บรรเทาทั้งนั้น แล้วมีอยู่ว่าการทำมาหากินนั้น อาชีพชนิดไหนก็ตาม การสังคมชนิดไหนก็ตาม 

ต้องประกอบด้วยธรรมะที่เป็นความอดกลั้น อดทน ให้อภัย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งนั้นจึงจะไม่

ขัดกับหลักที่วางไว้เดิม ที่พูดว่า โลกิยะตรงกันข้ามจากโลกุตตระนี้ผิด ผิดอย่างน่าใจหายเลย จะ

เป็นข้างหนึ่งส่งเสริมกิเลส ข้างหนึ่งบรรเทากิเลสนี้มันไม่ถูกได้ มันต้องบรรเทากิเลสทั้งนั้น ถ้าถูก

ต้องแล้ว ต้องบรรเทากิเลสได้และต้องเป็นเรื่องควบคุม หรือบรรเทาความยึดมั่นถือมั่น.

หน้า 6

พวกอื่นเขาสอนให้ ฆราวาสมีพื้นฐานที่ไม่บรรเทากิเลส ไม่บรรเทาความยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว เรา

ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปสอนให้บรรเทาอย่างนั้นอีกหรือไปส่งเสริมเข้า แต่ก็มีหน้าที่ ที่จะสอนให้ฆราวาส

ที่ต้องทำหน้าที่ของฆราวาสนั้นแหละ ให้มีความทุกข์น้อย หรือความทุกข์ครอบงำไม่ได้ ฆราวาสทำ

หน้าที่ทำมาหากินตามแบบของฆราวาสเต็มที่อยู่ส่วนหนึ่งแล้ว ก็ต้องประกอบด้วยธรรมะชนิด 

ที่อย่าให้การงานนั้นเป็นทุกข์ขึ้นมา เพราะฉะนั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

เกี่ยวกับโลกิยธรรม ที่เรียกกันเดียวนี้ว่าโลกียธรรม มัน ก็ไม่ผิดไปจากเรื่อง โลกุตตรธรรม 

เป็นแนวเดิม เป็นหลักธรรมเดิม แต่ว่าลดระดับลงมา ให้พวกฆราวาสปฏิบัติได้โดยสะดวก

พร้อมกันไปกับการทำงาน นี่เราก็เลยแนะให้ใช้การปฏิบัติธรรมในการงาน หรือให้การงานเป็นการ

ปฏิบัติธรรมไปเสียเลย มันจะได้ไม่ต้องลำบาก

มองดูอีกทางหนึ่งซึ่งน่านึกเหมือนกันว่า โลกุตตรธรรมนั้นยิ่งจำเป็นสำหรับฆราวาส 

เพราะว่าโลกิยธรรมยังทำให้ร้อน โลกุตตรธรรมนั้นทำให้เย็นที่นี้ฆราวาสนั้นร้อนเหลือที่จะร้อน

อยู่แล้วย่อมต้องการโลกุตตรธรรมมากว่าพวกบรรพชิตที่อยู่ป่า ตามวัดตามวา พวกบรรพชิตไม่มาก

เหมือนพวกฆราวาสเขาไม่ต้องรีบด่วนในเรื่องเย็น เรื่องโลกุตตรธรรม มากเหมือนพวกฆราวาสด้วย

ซ้ำไปเปรียบเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งมีไฟอยู่ที่ตัว แล้วอีกคนหนึ่งไฟไม่ได้ไหม้อยู่ที่ตัวนี้ ใครต้องการน้ำ

ดับไฟก่อนกว่าใคร มันก็ต้องคนที่กำลังร้อนเป็นไฟอยู่นั่นแหละฉะนั้น ฆราวาสจึงต้องสนใจ

เรื่องโลกุตตรธรรม เรื่องอย่างนี้จะมีปรากฏชัดในพระบาลีในพระไตรปิฎก ซึ่งเล่าไว้ว่า

สุญญตา เป็นโลกุตตรธรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ฆราวาส

ฆราวาสพวกหนึ่งมาเฝ้าพระพุทธเจ้า มาทูลขอหลักการปฏิบัติธรรมไปปฏิบัติว่า ของพระองค์จง

แสดงธรรมะที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกฆราวาสโดยตรง

หน้า 7

แล้วพวกเขาทูลเล่าเรื่องว่า ฆราวาสอยู่ด้วยบุตรภรรยา ขอให้แสดงธรรมเป็นประโยชน์แก่

ฆราวาสตลอดกาลนี้ พระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องสุญญตาขึ้นมาเลยแล้วก็ทรงย้ำด้วยว่าเป็น 

โลกุตฺตรา ตถาคตภาสิตา ถ้าเช่นนั้น ท่านต้องสนใจเรื่อง สุญญตาซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม ที่

ตถาคตกล่าว นี้มีคำกำกับอยู่ในตัวว่า ตถาคตกล่าวแต่เรื่องโลกุตตรธรรม หรือสุญญตา ตรง

กันข้ามนั้นไม่กล่าวเห็นชัดอยู่อย่างนั้น

ทีนี้พวกฆราวาสพวกนี้ ผู้เป็นหัวหน้าบอกว่า สูงนัก สูงเกินไปไม่สามารถปฏิบัติได้พระพุทธเจ้าก็

ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นก็เอาธรรมะ 4 ประการ คือ ความศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระพุทธหนึ่ง ในพระ

ธรรมหนึ่ง ในพระสงฆ์หนึ่ง อริยกันตศีลหนึ่ง 4 อย่างนี้เหมาะสำหรับฆราวาส ฆราวาสเหล่านั้น

ก็ทูลขึ้นว่า 4 อย่างนี้ปฏิบัติอยู่แล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว

สูตรนั้นจบลงเสีย โดยไม่ต้องบอกต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป พอแสดงความพอใจในพระพุทธ

เจ้าแล้วก็จบเรื่องเสีย ก็เลยเกิดเป็นปัญหาที่เถียงกันขึ้นในหมู่นักคิด ว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่ 

สุญญตา โลกุตตรา นี่เหมาะสำหรับฆราวาสหรือไม่ ควรแก่ฆราวาสหรือไม่ คนพวกหนึ่งเห็น

ว่าไม่สมควรถือว่าตรงกันข้ามกันเลยมันใช้กันไม่ได้เลย เรื่องโลลกุตตรสุญญตานี้ 

ใช้กับฆราวาสไม่ได้ แต่พวกเราเยอะแยะ ยังมองเห็นว่า ต้องใช้ได้ตามเดิม ตามที่พระพุทธ

เจ้าท่านตรัส โดยพิจารณาว่าเมื่อมีฆราวาสมาทูลถาม ให้แสดงธรรมที่มีประโยชน์แก่ฆราวาส ทำไมพระ

องค์จึงไปยกเอาเรื่องสุญญตาโลกุตตราขึ้นมาเช่นนี้ เราจะหาว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้สะเพร่า เป็นผู้งม

งายไม่รู้ประสีประสาอะไร พูดโพล่งๆ อย่างนั้นแหละหรือ อย่างนี้ก็ไม่ถูก มันต้องเป็นหลักและเป็น

ความประสงค์ของพระพุทธเจ้าที่จะให้ฆราวาสรู้เรื่องสุญญตาโลกุตตรานี้

หน้า 8

การที่ฆราวาสพวกหนึ่งเขาว่าสูงนัก ไม่แสดงความสนใจหรือซักถามอะไรเลยเพื่อให้ทำได้นั้น 

เขามิได้ซักถาม พระพุทธเจ้าก็ง่ายที่จะบอกอันอื่นให้เลย นี้เป็นเพราะเหตุไร ลองสังเกตดู 

ธรรมะ 4 ประการนี้เป็นหลักสำคัญ มีมากในสังยุตตนิกาย เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ แล้วก็มี

อริยกันตศีลคือมีศีลบริสุทธิ์ เสนอ ธรรม 4 ประการนี้ ขึ้นมาเป็นอันดับรองจากสุญญตา 

เราต้องพิจารณาว่า 4 อย่างนี้ เป็นโลกิยธรรมไหม ตรงกันข้ามกับสุญญตาไหม หรือเป็นเพียงยกระดับ

ลงมา ในสังยุตตนิกายนั้นเองก็พูดถึงธรรมะ 4 อย่างนี้อยู่มาก แล้วให้ชื่อว่าโสตาปัตติยังคะ 

โสตาปัตติยังคะ ก็คือธรรม 4 ประการที่ตรัสนั้น

โสตาปัตติยังคะ แปลว่า องค์แห่งความเป็นพระโสดาบัน คือองค์แห่งการบรรลุความเป็น

โสดาบัน มี 4 อย่าง นี้หมายความว่าครบองค์แห่งการเป็นโสดาบัน โสตา แปลว่า 

โสดา ปัตติ แปลว่า การถึง อังคะ ว่า องค์ องค์แห่งการถึงพระ

โสดาบัน ผู้ใดมีครบ 4 ก็คือถึงความเป็นพระโสดาบัน ถ้าอย่างนี้ละก็ไม่ใช่โลกิยะ เพราะว่า 

พระโสดาบันไม่ใช่โลกิยะ นี้หมายความว่าพระพุทธเจ้ายังได้มอบโลกุตตรธรรม ที่ลดระดับลงมา

หน่อยให้ไปอีก

ทีนี้ ถ้าพวกนั้นปฏิบัติอยู่แล้ว ก็หมายความว่าพวกนั้นเป็นพระโสดาบันแล้วโดยไม่รู้สึกตัว 

พวกที่มาเฝ้าถามนั้น ตนอาจเป็นพระโสดาบันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ก็เป็นไปได้ เพราะเรื่องนี้ก็เป็น

เรื่องธรรมดา ผู้บรรลุมรรคผลชั้นไหนเจ้าตัวไม่รู้ก็ได้ บรรลุมรรคผลชื่ออะไร ชั้นไหนไม่รู้ รู้แต่เพียง

ว่าเดี๋ยวนี้เรามีความสุขอย่างไร มีความทุกข์เท่าไร มากน้อยเพียงไรอย่างนี้ก็รู้ แต่ที่จะรู้ว่าระดับนี้

ลักษณะนี้ เขาเรียกชื่อว่า โสดา หรือ สกิทาคานี้ไม่รู้ เพราะเขาไม่สอนไม่เรียนกันในทำนองนี้ 

ฉะนั้น พวกธัมมทินนะอุบาสกคณะนั้น เป็นพระโสดาบันมาก่อนแล้วเต็มที่เลยก็ได้

หน้า 9

สำหรับการเป็นพระโสดาบันนั้นยังละกิเลสไม่ได้อีกมาก ยิ่งเป็นฆราวาสก็ยังมีความทุกข์ 

ความร้อน เช่นว่า ลูกหลานตายก็ยังร้องไห้ นี้ก็เป็นปกติของโสดาบัน เพราะฉะนั้น เขาจึงต้องการ

ธรรมะที่จะดับความร้อนอยู่มาก จึงไปเฝ้า ฉะนั้น จึงสรุปการที่ธัมมทินนนะบอกว่าข้อธรรมนั้นสูงนัก แล้ว

พระพุทธเจ้าตรัส 4 อย่างนี้ให้ เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธเจ้าท่านเพิกถอนเรื่องสุญญตา

แก่ฆราวาส ไม่ได้เพิกถอนโลกุตตรธรรมแก่ฆราวาส เพียงแต่ลดระดับลงมาเท่านั้นแล้วต่อมาก็มี

พวกที่เข้าผิดถือเอาว่า 4 อย่างนี้เป็นโลกิยะธรรมไปเลย แล้วยังถือผิดเลยเตลิดต่อไปอีกว่า มันเป็น

เรื่องส่งเสริมให้ไปยึดมั่นถือมั่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปเลย เลยอธิบายไปในทำนองเตลิด

เปิดเปิง ไม่เป็นธรรมไปในที่สุด



อย่าเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า ทรงสอน ให้ยึดมั่นถือมั่น

ใครมีศรัทธาไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ ไม่ใช่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ถ้าสอน

ให้เลิกยึดมั่นด้วยอุปาทานแล้ว มันต้องอีกอย่างหนึ่ง อุปาทานต้องมาจากอวิชา การที่จะมีศรัทธา

ขนาดไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้น ต้องมีปัญญา ไม่ใช่ยึดมั่นด้วยอวิชา ที่ว่าคน

เราจะยึดมั่นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยอวิชานั้นมันมีได้เหมือนกันคือคนที่แรก ๆ พบอะไร ได้ยิน

ข่าวเล่าลือแตกตื่นอะไร นี้ยึดมั่นทำนองอวิชาอุปาทานอย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน แต่อย่างนั้นไม่เรียก

ว่าอเวจจัปปสัทธาในที่นี้ อเวจจัปปสัทธา ในที่นี้ต้องมีปัญหา จึงจะไม่คลอนแคลน มาตั้งแต่รากฐาน

ศรัทธานั้นจะไม่คลอนแคลนมาตั้งแต่รากฐาน

คำว่า อเวจจัปปสัทธา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ ไม่ใช่มีความยึดมั่นถือมั่น 

ด้วยอุปาทานในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ว่ามีความรู้ความเข้าใจ พอยึดถือเอาเป็นสรณะ

ด้วยปัญญา

หน้า 10

ทีนี้คนที่เขาอยากจะยึดมั่นถือมั่นเขาก็มีช่องพูดตอนนี้แหละ ว่าแม้แต่เราจะถือพระพุทธ พระธรรม พระ

สงฆ์ เราต้องมีความยึดมั่นถือมั่น นี้มันเกิดเป็นปัญหาทางภาษาขึ้นมาทันที "ยึดมั่น ถือมั่น" ภาษา

ไทย อาจจะใช้ได้แก่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ในภาษาบาลีใช้ไม่ได้ จะเอาคำว่าอุปาทานนี้ไป

ใช้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เป็นไปไม่ได้ ต้องใช้ตำอย่างอื่น เช่นถึงไตรสรณาคมน์ ถึง

สรณะนี้ ซึ่งไม่ใช่ประกอบไปด้วยอุปาทานทำนองนั้น

อย่าลืมว่า อุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นในภาษาบาลี ต้องมาจากอวิชาเสมอไปส่วนที่จะถึง

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ถูกต้องนี้มาจาก "วิชชา" ตรงกันข้ามกับอวิชา ฉะนั้น จึงไม่ใช่อุปา

ทาน ดังนั้น อเวจจัปปสัทธา ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ไม่ใช่อุปาทาน เหมือนที่คนไทย

เราพูดกันแล้วฟังเข้าใจผิด เพราะคำพูดว่า "ยึดมั่นถือมั่น" ในภาษาไทยนี้มันใช้ได้ทั้งสองอย่าง

ใช้ได้ทั้งในทางวิชชา ใช้ได้ในทางอวิชชา

ต้องไปทำความเข้าใจให้ถูกกันเสียใหม่ ในเรื่องเกี่ยวกับ ภาษาพูด ภาษาคน ภาษาธรรม 

อะไรนี้ ถ้ายึดมั่นถือมั่นต้องเป็นอวิชชา จึงจะถูกต้องตามความหมายเดิม ทีนี้ ไทยเรามันใช้คำกำกวม 

ถึงหรือ ถือนี้ ใช้คำว่าถึงหรือถืออย่างนี้ละก็ มันก็มีความหมายได้ทั้งนั้น ถึง และ ถือ

ผิดด้วยอุปาทาน หรือว่าถึง และถือ ด้วยปัญญาฉะนั้น ขอให้ทุก ๆคนจำไว้ให้ดีว่า คำพูดคำเดียว

มีสองความหมายได้อย่างนี้แหละ และเป็นตัวเหตุตัวการของความยุ่งยากของปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้ถก

เถียงกัน ตกลงกันไม่ได้ทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุนี้มาแล้ว ตั้งแต่พุทธกาลจนกระทั่งบัดนี้ จนกระทั่ง

เวลานี้ซึ่งจะรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเรานิยมยึดมั่นด้วยคำพูดอะไรกันมากขึ้น ผูกมัดกันด้วยคำพูด อายัติกัน

ด้วยคำพูดนี้มากขึ้น เรื่องนี้ต้องระวังให้ดี ไม่จำเป็นจะต้องเถียงกัน ควรจะทำความเข้าใจกันได้

หน้า 11

อย่าได้ไปเข้าใจ พระพุทธเจ้าให้ฆราวาสยึดมั่นถือมั่น แม้ในกรณีใดเลย ยังคงสอนให้ทำ

ลาย หรือบรรเทา ความยึดมั่นถือมั่นอยู่นั่นเอง ชั้นรอง รอง ๆ ลงมา เช่น ศรัทธาในพระพุทธ พระ

ธรรม พระสงฆ์ นี้ก็ ถอนความยึดมั่นในตัวตน อริยกันตศีลนี้ก็ ถอนความยึดมั่นถือมั่นใน

ตัวตน และความเห็นแก่ตน

เรื่องที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ก็แปลว่า ฆราวาสพวกนั้น ได้ธรรมะที่เป็นสุญญตา หรือโลกุตตราใน

อันดับต้นไปเท่านั้นเอง ถ้าเขาไม่เป็นพระโสดาบันมาก่อน เขาก็ได้ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นโสดาบันนั่น

เอง หรือถ้าเขาเป็นพระโสดาบันอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ก็หมายความว่าเขาก็มีธรรมะที่

เป็นสุญญตาโลกุตตราในระดับหนึ่งอยูั่แล้วโดยไม่รู้ตัว แล้วข้อความในพระสูตรก็มีเพียงเขากลับไปเฉย ๆ

ก็แปลว่าจะต้องไปประพฤติข้อนั้นแหละต่อไปอีก ยิ่งขึ้นไปอีก หรือรักษาไว้ในลักษณะที่เป็นพระโสดาบัน 

ซี่งเป็นโดยหลักทั่วไปอยู่แล้ว โดยหลักทั่วไป เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าพระโสดาบันนั้นไม่ถอยหลังกลับ คำว่า 

โสตะ,โสตา+อาปันนะ แปลว่า ถึงแล้วซึ่งกระแสหรือเกลียว คือถอยกลับไม่ได้ มีแต่จะไปตาม

เกลียวตามกระแสนั้น ก็เป็นอันว่าปลอดภัยสำหรับผู้นั้น

ถ้าจะอาศัยเรื่องนี้ แล้วสันนิษฐานว่าพระพุทธเจ้าเพิกถอนหลักเกณฑ์เรื่องสุญญตา ไม่สอนแก่ฆรา

วาส อย่างนี้คนนั้นก็บ้าเอง จะต้องเข้าใจไว้เสมอว่า หลักของพระพุทธเจ้าเปลี่ยนไม่ได้ ในข้อสำคัญ

ที่สุดคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ทุกคนต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มากเท่าที่จะทำได้ ตามสัดตามส่วนของตน ข้อ

นี้ไม่ต้องกลัวบางทีจะพบว่า ความยึดมั่นถือมั่นมันเกิดมากเกินต้องการอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น เราไม่ต้อง

กลัวว่าเราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น มันยึดมั่นถือมั่นจนให้เป็นทุกข์อยู่เสมอไป ฉะนั้นเราก็บรรเทาเสียเท่าที่เรา

จะบรรเทาได้ ก็เท่านั้นเอง

เรื่องศีลก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น เรื่องสมาธิก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น เรื่อง 

ปัญญาก็บรรเทาความยึดมั่นถือมั่น มรรค ผล นิพพาน ก็คือ ผลของการที่ตัดความยึดมั่นได้ตัดสัดตามส่วน

หน้า 12

ทีนี้แม้แต่ที่สุด เราจะเริ่มนับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ต้องเพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นที่

เห็นแก่ตัวการที่เราไปเห็น "เห็นแก่" พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ไม่ใช่ไปยึดมั่นถือมั่น

ด้วยอวิชชาอุปาทาน แต่ไปยึดมั่นเพื่อจะเอามาเป็นหลักเกณฑ์ สำหรับบรรเทาความยึดมั่นถือในตัวกู-

ของกู ให้เบาบางไป นี้คือเราเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นเครื่องมือทำลายตัวกู-ของ

กูในตัวเรา ต้องเป็นหลักอย่างนี้เสมอกันทั้งฆราวาสทั้งบรรพชิต



เรื่องการปฏิบัติธรรม ไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส

นี่เราเห็นได้อยู่แล้วว่าพระภิกษุ พระสงฆ์นี่ บางรูปมีตัวกู-ของกู จัดกว่าพวกฆราวาสบางคนบาง

หมู่ตั้งไหน ๆ ฆราวาสบางคนบางหมู่ บางเหล่า ตัวกู-ของกูน้อยกว่าพระเณรในวัดตั้งไหน ๆ คำพูดนี้

ขยายความออกไปได้ถึงนอกวง นอกวงของพุทธของไทย ไปถึงพวกจีน พวกฝรั่ง พวกแขก อะไรได้

ทั้งนั้น ที่โดยเหตุอะไรก็ตาม โดยการศึกษาชนิดไหนของเขาก็ตาม แม้เหล่านั้น คนต่างชาติ ต่างศาสนา

เหล่านั้นบางคน มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวกู-ของกู น้อยกว่าคนไทยส่วนมากเสียอีกคนไทยที่กำลัง

เปลี่ยนหลักการ กำลังทะเยอทะยานไปตามวัตถุนิยมอย่างโลก ๆ ซึ่งจะมีความยึดมั่นถือมั่นมากขึ้น

ส่วนพวกชาวต่างประเทศที่ไม่ถือศาสนาพุทธ เขาถือศาสนาอื่นนั้น บางคนกลับจะอยู่ในสภาพที่มีความ

ยึดมั่นถือมั่นน้อยกว่า แต่ว่ามันต้องมีจำนวนน้อยคนเป็นธรรมดา ที่ว่านี้ไม่ใช่ทั้งหมด



เดี๋ยวนี้เกือบจะเฉลี่ยกันไปหมดแล้วทั้งโลกนี้ โดยอาศัยหลักที่ว่าเห็นแก่ตัวหรือไม่เห็นแก่ตัว 

ใครไม่เห็นแก่ตัวมากเท่าไรก็เป็นพุทธบริษัทโดยไม่รู้ตัวมากเท่านั้น เขาจะถือศาสนาอะไรอยู่ 

หรือว่าประกาศตัวเป็นชาติไหนภาษาไหนก็ตาม

หน้า 13

ถ้าเขาถือหลักไม่เห็นแก่ตัวได้มากเท่าไร เขา เป็นพุทธบริษัทโดยไม่รู้สึกตัวมากเท่านั้น

ฉะนั้น เราจึงไปพบคนที่ยึดมั่นถือมั่นน้อยในพวกอื่น ที่ถือศาสนาอื่นก็ได้ นี่พูดอย่างเป็นธรรมดาที่สุด ซึ่ง "

พวกนั้น" เขาไม่ยอม เขายังพูดว่ามีแต่พุทธ หรือว่ามีแต่คนไทย หรือมีแต่อะไรกัน แล้วก็มีแต่พระภิกษุ

นี้เท่านั้น ฆราวาสมีไม่ได้อย่างนี้ไม่จริง

ธรรมะไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส ใครปฏิบัติเข้าก็ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมะนั้น ธรรมะ

ไม่มีพระไม่มีฆราวาส เพราะเหตุนี้ธรรมะจึงไปมีได้แม้ในฆราวาสและสูงกว่าที่อยู่ในพระเณรบางคน 

หรือพูดว่าพระเณรส่วนมากจะสูงกว่าฆราวาสก็ตามใจ แต่ว่าธรรมะในฆราวาสบางคนนั้นมีมากกว่า และ

มีสูงกว่าพระเณรบางคนก็ได้นี่คือคำอธิบายที่เรียกว่าธรรมะนั้นไม่เป็นฆราวาส ไม่เป็นบรรพชิตได้ 

ธรรมะเป็นกฎของธรรมชาติ ใครมี คนนั้นก็เป็นพระ เพราะฉะนั้น เป็นพระอยู่ในเพศ

ฆราวาสที่บ้านที่เรือนก็มีเยอะแยะไปหมด แล้วมาบวชอยู่ในวัดในวา ในป่า ในดงไม่เป็นพระหรือ

เป็นพระน้อยก็มี มีมากหรือไม่เป็นเลยก็มี นั้นมันเป็นเรื่องแบบฟอร์มข้างนอกเท่านั้น

จงเข้าใจให้ดีว่า ธรรมะนี้ไม่มีฆราวาส ไม่มีบรรพชิต และไม่อาจแบ่งแยกเป็นโลกิยะ 

โลกุตตระ สำหรับพุทธศาสนาไม่มีแบ่งแยก ทีหลังมาเกิดมีการแบ่งแยก ก็โดยอาศัย

หลักที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้บางอย่าง เช่นว่า "ถ้ายังเป็นไปเพื่อเกิดอีกละก็ไม่ไหว นี้ยังเป็นโลก 

ถ้าเป็นไปเพื่อไม่เกิดอีกนี้เป็นโลกุตตระ เลยได้หลักอันนี้มาสำหรับแบ่งแยกเป็นโลกิยะ 

โลกุตตระ ถ้ายังอยากเกิดอีก ก็ทำไปด้วยความเกิดอีก อยากมีอีก เป็นโลกิยะ ถ้าเพียง

เท่านี้ไม่เป็นไร ยังพอใช้ได้ แต่ถ้าไปเพิ่มเติมเข้าว่า ที่อยากเกิดอีกนั้นต้องมีโลภมาก มีอะไรมาก

มีความยึดมั่นถือมั่นมากแล้ว ไม่ได้ ผิดเลย ผิดหมดเลยแม้แต่อยากเกิดอีก

หน้า 14

ก็ต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีธรรมะสูงมีจิตใจสูง มีความทุกข์น้อย มีความยึดมั่นถือมั่นน้อยอยู่ตามเดิม 

ไม่ใช่กลับไปตรงกันข้าม นั่นมันจะไปลงนรกเลย

ขอให้เข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ดีๆ อย่าไปหลงตามความคิดเห็นของคนบางคน 

ว่าโดยเหตุที่อุบาสกคณะนั้น ที่ทูลว่าสุญญตาสูงนัก พระพุทธเจ้าจึงลดลงมาเหลือเพียงโสดาปัตติยังคะ 4 

แล้วจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเลิกสุญญตา เลิกโลกุตตระ สำหรับฆราวาสไปเลย นี้ไม่ถูกหลักพระ

พุทธศาสนามีเพียงอย่างเดียวคือว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดว่าเป็นตัวของตัวตนของตนเท่านั้น

ที่นี้ฆราวาสก็ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้ว ฉะนั้น ก็บรรเทาลงไปตามส่วนเท่าที่จะบรรเทาได้เป็นพระเป็นเณร

ก็บรรเทาให้มากกว่านั้นอีก จึงจะสมกับที่เป็นพระเป็นเณร



การบรรลุมรรคผล ก็คือ ความยึดมั่นถือไม่ได้

การบรรลุมรรคผล เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี นี้ หมายความว่าจิตเข้าระดับ เข้า

ระดับที่ยึดมั่นถือมั่นได้ถูกละไป ถึงสัดส่วนที่ว่าจะกลับเพิ่มอีกไม่ได้ มีแต่จะหายหมดไป หมดไป หมดไป 

ฉะนั้น หมดไปบางส่วนแค่นั้น ๆ ก็เรียกว่าพระโสดาบัน หรือหมดถึงขนาดนั้นก็เรียกว่าเป็นพระสกิทาคา

มีอนาคามีหมดเลยก็คือเป็นพระอรหันต์ หมดความยึดมั่นถือมั่น เพราะเหตุนี้เขาจึงได้มีหลักว่า พระ

โสดาบันละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐินั้นแหละคือยึดมั่นถือมั่น พระโสดาบันจะ

ต้องละ จึงเป็นพระโสดาบันได้ ส่วนบุคคลปุถุชนนั้นยังมีอยู่ปุถุชนเป็นพระก็ได้เป็นฆราวาสก้ได้ ถ้ายัง

มีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สัลัพพตปรามาสเต็มที่อยู่ ก็เลยเป็นปุถุชน ถ้าละความยึดมั่นถือมั่นที่เรียก

ชื่อว่า สักกายทิฏฐฺิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้ตามส่วนที่วางไว้ ก็เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน

ละสักกายทิฏฐิ คือละความยึดมั่นถือมั่นที่เป็นตัวกู-ของกู วิจิกิจฉานี้ ยึดมั่นถือมั่นไป

ในทางทิฏฐิ ความคิดความเห็นที่เคลือบแคลงสงสัย ส่วน สีลัพพตปรามาสนั้น ยึดมั่นถือมั่นในการ

ปฏิบัติที่กระทำมาแล้วอย่างงมงายตลอดเวลา. เมื่อละความยึดมั่นถือมั่นทำนองตัวกู-ของกูเสียตามส่วน 

แม้ไม่ใช่ละได้หมดเลย, แล้วก็ละความยึดมั่นเรื่องทิฏฐิผิด ๆ ที่ทำให้สงสัยลังเลกังขาอะไรอย่างนี้ตาม

ส่วนเสียส่วนหนึ่ง, ละยึดมั่นถือมั่นในความงมงาย ปฏิบัติอย่างง


 


ราคา: 250 ต้องการ: ขาย/ให้เช่า/แลก
ติดต่อ: ไตรลักษณ์ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา เลขที่ 19/5 ริมกอีเมล์: 
สภาพ: ใหม่ จังหวัด: นครปฐม
โทรศัพย์: 086-461-8505IP Address: 125.24.76.131



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]





ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)

รูป   รายละเอียด ราคา
  30
  0 บาท
  สามารถดูได้ผ่านเว็บไซต์
  90
  59
  350-750
  99
  300
  300
  250
  130
  ไม่ระบุ
  ไม่ระบุ
  150
  500
  100
  70
  ไม่ระบุ
  30
  xxx