ถ้าลูกต่อต้าน ไม่เชื่อฟังทำอย่างไรดี?
ถ้าลูกต่อต้าน ไม่เชื่อฟังทำอย่างไรดี? (Mother & Care)
คุณแม่อาจตั้งคำถามเวลาที่คุณแม่บอกลูกว่า อย่าทำอย่างนั้น! อย่างนี้! แต่ลูกก็ยังทำเหมือนต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง เราควรทำอย่างไรดี ?
พฤติกรรมการต่อต้านและต่อรอง อยู่ในส่วนของพัฒนาการตามวัยของเด็กวัยก่อนเรียนค่ะ และพฤติกรรมจะค่อยๆ เพิ่มและมากขึ้นให้เราเห็นได้ไปจนเป็นวัยรุ่นทีเดียว เด็กเล็กประมาณ 2 ขวบ จะแสดงอาการต่อต้านโดยการทำสิ่งตรงข้ามกับที่เราบอก เช่น ให้อาบน้ำก็ไม่ยอมอาบ ไม่ให้เล่นสวิตช์ไฟเปิด-ปิด ก็จะเล่น ถ้าเป็นเด็กโต นอกจากต่อต้านก็จะเริ่มมีการต่อรอง พฤติกรรมที่มักพบ มักเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับกิจวัตรประจำวัน เช่น ไม่ยอมไปนอน เมื่อถึงเวลานอน เวลาตื่นไม่ยอมตื่น ให้อาบน้ำก็ขอรอก่อน โดยมากเป็นการขอผัดเวลา เช่น ขอกินขนมก่อนค่อยอาบน้ำ ขออ่านนิทานก่อนนอน...
การลดพฤติกรรมต่อต้าน คุณแม่อาจจะทำโดยการพูดย้ำกับลูก ด้วยน้ำเสียงและการแสดงที่หนักแน่นและจริงจังอย่างพอดี โดยการบอกว่าต้องการให้ลูกทำอะไรอย่างชัดเจน และบอกด้วยว่าเมื่อไรที่คุณแม่ต้องการให้ลูกทำ โดยคุณแม่อาจมีการบอกเตือนล่วงหน้าให้ลูกรู้ด้วยค่ะ เช่น คุณแม่อาจเริ่มต้นก่อนว่าถ้าอ่านนิทานเล่มนี้จบ ลูกต้องเตรียมตัวเข้านอนและเมื่อถึงเวลาคุณแม่ควรทำตามที่พูดไว้ด้วย โดยการย้ำเตือนลูกว่าเวลานี้เป็นเวลาเข้านอนแล้วค่ะ
ซึ่งคำพูดที่พูดกับลูกควรเป็นคำที่นุ่มนวล ไม่วางอำนาจหรือตะคอกแผดเสียง ขณะพูดพยายามมองหน้า สบตาลูก แสดงท่าทีจริงจัง หนักแน่นแต่นุ่มนวล ถ้าเป็นเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องนั่งลงไปพูดกับลูก และอาจต้องช่วยจับตัวลูก คุณหมอมักจะใช้คำว่าอย่าเลี้ยงลูกด้วยปาก เช่น ถ้าลูกเปิด-ปิดลิ้นชักเล่น เราไม่ควรนั่งและพูดว่าอย่าเล่นลิ้นชักค่ะ อาจต้องพูด และลุกไปจูงลูกออกมาจากลิ้นชักทันทีที่ลูกกำลังเล่น โดยเราอาจพูดคำสั้นๆ “ว่าอย่าเปิดปิดลิ้นชักค่ะ เดี๋ยวหนีบมือแล้วหนูจะเจ็บ” และจูงลูกออกมา ถ้าคุณแม่หาสิ่งที่เล่นได้มาให้ลูกเล่นแทน ลูกจะเลิกสนใจลิ้นชักเจ้าปัญหาค่ะ
การกระทำที่คุณแม่ไม่ควรปฏิบัติกับลูกที่มีพฤติกรรมต่อต้านคือ การตั้งกฎเกณฑ์เรียกร้องกับเด็ก ตลอดจนการตำหนิเด็กโดยไม่บอกชัดเจนว่าเด็กควรทำหรือไม่ ควรทำอะไร (เช่น ทำไมถึงทำตัวแย่อย่างนี้ หรือทำไมดื้อแบบนี้ ควรจะบอกพฤติกรรมที่เด็กควรจะทำให้ชัดเจนเช่น อย่าพูดเสียงดังในบ้าน) พูดไม่ควรขึ้นเสียงหรือตวาด ตะคอกลูกด้วยอารมณ์ พูดหรือสัญญาอะไรแล้วไม่เป็นไปตามที่พูดหรือที่สัญญาเอาไว้ อย่าให้สมญาที่ไม่ดีกับเด็ก เช่น เด็กดื้อ เจ้าตัวยุ่ง เจ้าตัวแสบ, อย่าใช้วิธีข่มขู่เด็ก เช่น ถ้าไม่กินข้าวจะพาไปให้คุณหมอฉีดยา ถ้าไม่เข้านอนเดี๋ยวผีมาหลอก ซึ่งจะให้เด็กกลัว ขวัญเสียและอาจเกลียดบุคคลหรือสิ่งเหล่านั้นโดยใช่เหตุ และถ้าจำเป็นต้องตำหนิลูก ก็ขอให้ตำหนิเฉพาะการกระทำของเขา อย่าตำหนิตัวเขา และถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่คิดจะเอาจริง อย่าขู่เด็ก เพราะสิ่งที่เราพูดออกไปเราควรจะทำ เช่น ถ้าลูกไม่นั่งกินข้าวคุณแม่จะไม่ให้ไอศกรีม และถ้าลูกไม่นั่งคุณแม่ควรงดไอศกรีมมื้อนั้นค่ะ
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรลงโทษด้วยการตี เพราะจะเป็นการสอนเด็กกลายๆ ค่ะ ว่าการจะให้คนอื่นทำตามที่เราอยากให้ทำเราจะต้องใช้ความรุนแรง
ท้ายที่สุดสิ่งสำคัญยิ่งกว่าอื่นใดคือ คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชมลูก เวลาที่ลูกทำตามที่เราบอกหรือทำตัวน่ารัก เพราะคำชมนอกจากเป็นกำลังใจให้เด็กทำให้เด็กมีความภาคภูมิใจยังส่งผลทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง คำชมเป็นตัวเน้นให้เด็กรู้ว่า การกระทำหรือพฤติกรรมใดที่ลูกควรทำและการกระทำใดที่ลูกไม่ควรทำค่ะ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์ฯยินดีให้คำปรึกษาและคัดกรองบุตรหลานท่าน ฟรี
กรุณานัดเวลาเพื่อให้คำปรึกษาและคัดกรอง ฟรี
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษ SCI
อาคารทันตกรรม (ชั้น 4) ห้างสรรพสินค้า ตั้งฮั่วเส็งธนบุรี ถนนสิรินธร เขตบางพลัด กรุงเทพฯ
โทร 089-4995781, 081-9264565, 083-4329988
ราคา: | ติดต่อ-สอบถาม | ต้องการ: | ขาย/ให้เช่า/แลก | ||
ติดต่อ: | อาจารย์ขวัญดาว | อีเมล์: | |||
สภาพ: | ไม่ระบุ | จังหวัด: | กรุงเทพมหานคร | ||
โทรศัพย์: | IP Address: | 110.164.94.20 | |||
คำค้น: |
ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ
[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
รูป | รายละเอียด | ราคา | |
280 บาท | |||
0 | |||
10,500 | |||
7,000 บาท | |||
100 | |||
2,500 | |||
935 | |||
3,700-4,500 | |||
25,000-200,000 | |||
เลือกได้ครับ | |||
สอบถามได้24ชั่วโมง | |||
ไม่ระบุ | |||
290-1,850 | |||
ไม่ระบุ | |||
2,750 | |||
169-214 | |||
920 | |||
3,900 | |||
150 บาท | |||
9,900 |